Page 19 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          13








                  แรกที่เจริญบนซากพืช หรือพบหลังจากรากลุ่มที่เป็นปรสิตที่ไม่รุนแรงหมดไปแล้ว ตัวอย่างรากลุ่มนี้ ได้แก่
                  Mucor sp.  Absidia sp. และ Rhizopus sp. เป็นต้น
                                 กลุ่มที่ 3 เป็นราที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส ซึ่งเป็น
                  องค์ประกอบหลักของซากพืชได้ดี มักพบเจริญหลังจากราที่ดำรงชีพแบบ saprophyte ตัวอย่างรากลุ่มนี้ ได้แก่

                  Chaetomium sp.  Fusarium sp. และ Stachybotrys sp. เป็นต้น
                                 กลุ่มที่ 4 เป็นราที่มีความสามารถในการย่อยสลายและใช้ประโยชน์ลิกนิน และบางครั้งก็มี
                  ความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสด้วย ซึ่งมักปรากฏเป็นกลุ่มสุดท้ายบนซากพืช รากลุ่ม
                  นี้ส่วนใหญ่อยู่ใน Subdivision Basidiomycotina

                                 กลุ่มที่ 5 เป็นราที่เจริญร่วมกับราในกลุ่มที่ 3 หรือกลุ่มที่ 4 รากลุ่มนี้มักอยู่ใน Class
                  Oomycetes และใน Subdivision Zygomycotina รวมทั้งราหลายชนิดใน Subdivision โดยอาจเป็นปรสิต
                  เส้นใยของราชนิดอื่น หรือมีส่วนร่วมในการสร้างเอนไซม์ย่อยสลายซากพืชร่วมกับรากลุ่มอื่น อย่างไรก็ตาม
                  กิจกรรมของรากลุ่มนี้ยากที่จะแบ่งแยกออกมาได้อย่างเด่นชัดเพราะบางครั้งก็สามารถเจริญได้โดยการใช้อาหาร

                  จากซากพืชโดยตรง
                               2) เชื้อราสายพันธุ์ Corynascus sp.
                                 เชื้อราสายพันธุ์ Corynascus มีการกระจายอย่างจำกัดทั่วโลก ในอินเดียจนถึงปัจจุบันมี

                  รายงาน Corynascus 3 ชนิด ได้แก่ C. Sepedonium  C. sexualis และ C. similis ในประเทศอินเดีย
                  C. sepedonium สามารถตรวจพบและแยกเชื้อได้จากตัวอย่างดินในพื้นที่เกษตร ดินชายทะเล ป่าชายเลน
                  และไรโซเพลนของพืช โดย C. similis สามารถแยกได้จากดินในพื้นที่ทางตอนเหนือของอินเดีย และมีรายงาน
                  การพบเชื้อ Corynascus verrucosus จากดินท้องถิ่นในพื้นที่อาร์เจนตินา (Stchigel et al., 2000) ลักษณะ
                  สัณฐานวิทยาของ Corynascus verrucosus สามารถเจริญได้ดีอุณหภูมิระดับปานกลาง (Mesophilic) น้อย

                  กว่า 20 - 45 องศาเซลเซียส จนถึงทนอุณหภูมิสูง (thermotolerant) 20 - 70 องศาเซลเซียส การสืบพันธุ์ของ
                  เชื้อราแบบ homothallic เป็นเชื้อรา thallus มี 2 เพศ สามารถสืบพันธุ์แบบมีเพศได้ มีแอสโคมาตา
                  (ascomata) : เพอริเดียม (peridium) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 - 70 ไมโครเมตร มี asci ขนาด 25 - 38 x 21 - 32

                  ไมโครเมตร รูปร่าง ascospores ทรงรี ขนาด 11 - 18 x 6.5 - 9 ไมโครเมตร และมี conidia เส้นผ่าศูนย์กลาง
                  7 - 10 ไมโครเมตร สามารถพบเชื้อราชนิดนี้ได้จากดิน (Stchigel et al., 2000; Brink et al., 2012) (ภาพที่ 5
                  6 และ 7)












                  ภาพที่ 5  ลักษณะแอสโคสปอร์รูปทรงรี (Ellipsoidal ascospores) ภาพ SEM 1,500 เท่า
                  ที่มา : Stchigel et al. (2000)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24