Page 17 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          11








                  กลุ่มนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ เอนโด-บีต้า-1, 4-กลูคาเนส (endo-ß-1, 4-glucanase) เป็น
                  เอนไซม์ที่ย่อยเซลลูโลสทั้งที่มีโครงสร้างที่มีการจัดเรียงตัวแบบไม่เป็นระเบียบ (amorphous) และแบบเป็น
                  ระเบียบ (crystalline) ซึ่งจะทำลายพันธะที่ตำแหน่ง ß-1, 4-glucanase linkage บริเวณที่เป็น amorphous
                  หรืออนุพันธ์ของเซลลูโลส เช่น คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส และเซลโลไบโอส สายสั้น ๆ แบบสุ่ม ทำให้ได้กลูโคส และ

                  โอลิโกเมอร์ชนิดเซลโลไบโอสเป็นผลิตภัณฑ์หลัก และกลุ่มที่ 2 เอกโซ-บีต้า-กลูคาเนส (Exo-ß-1, 4-glucanase)
                  เป็นเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารโพลิเมอร์ จากปลายด้านที่เป็นนอนรีดิวซ์ (non - reducing) และรีดิวซ์ (reducing
                  end) ทีละโมเลกุลอย่างจำเพาะกับโครงสร้างในลักษณะ crystalline cellulose และมีการเปลี่ยนแปลง
                  configuration ของสารจาก ß-configuration ไปเป็น α-configuration ทำให้ได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลเซลโล

                  ไบโอส และกลูโคส
                                 1.3) เอนไซม์บีต้า-กลูโคซิเดส (ß-glucosidase) เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายผลิตภัณฑ์
                  ที่ได้จาก Cx ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ จะย่อยโมเลกุลของเซลโลไบโอสและเซลโลเฮกโซส (cellohexose คือ
                  กลูโคสจาก 2 - 6 ยูนิต) ได้เป็นกลูโคส สามารถย่อยสลายกรดเซลลูไบโอนิก (cellubionic acid) ให้เป็นกลูโค

                  โนแลกโตน (gluconolactone) และกลูโคส เอนไซม์นี้มีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกับเอนไซม์เอนโด และ
                  เอกโซ-บีต้า-1, 4-กลูคาเนส ที่จะย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกลูโคส
                               2) คุณสมบัติทั่วไปของเอนไซม์เซลลูเลส (สุภาวดี, 2543)

                                 2.1) เอนไซม์ Cx มีมวลโมเลกุล 42,000 เอนไซม์เอนโด-บีต้า-กลูคาเนส มีมวลโมเลกุล
                  23,000 - 58,000 เอนไซม์เอกโซ-บีต้า-กลูคาเนส มีมวลโมเลกุล 60,000 - 62,000 และเอนไซม์บีตา-กลูโคซิเดส
                  มีมวลโมเลกุล 76,000
                                 2.2) เอนไซม์เซลลูเลสที่ได้จากจุลินทรีย์จะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงานประมาณ 50
                  องศาเซลเซียส ยกเว้นจุลินทรีย์ทนความร้อนบางชนิด มีความคงทนต่อค่าพีเอชในช่วงระหว่าง 4.0 - 9.0 แต่

                  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของเอนไซม์ และความคงทนต่อสารเคมี ละลายน้ำได้แต่ถูกยับยั้งด้วยไอออนของโลหะ
                  หนัก - SH reagents, oxidizing reducing agents และโดยผลผลิตตัวเอง คือ กลูโคส
                                 2.3) สามารถวัดกิจกรรมการทำงานจากการวัดหมู่รีดิวซ์ที่เกิด นิยมใช้ซับสเตรตที่ละลายน้ำ

                  ได้ดี คือ ซับสเตรตสังเคราะห์ เช่น คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส
                                 2.4) เชื้อราที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลสจะเจริญได้ดีที่ค่าพีเอชในช่วงระหว่าง 3.5 - 8.0 และที่
                  อุณหภูมิระหว่าง 30 - 80 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับเชื้อแต่ละชนิด
                                 2.5) สามารถเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และที่ 4 องศาเซลเซียส ได้นานหลายปี

                  หรือเก็บโดยวิธี freeze dry หรือตกตะกอนด้วยอะซิโตน หรือเอทานอล โดยไม่สูญเสียคุณสมบัติ
                               3) การทำงานของเอนไซม์เซลลูเลส
                                 การย่อยสลายเซลลูโลสด้วยเอนไซม์เป็นกระบวนการย่อยสลายที่มีความจำเพาะเจาะจงสูง
                  ซึ่งเอนไซม์เซลลูเลสเป็นกลุ่มเซลลูเลสที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายพันธะ ß-1, 4-glucosidic linkage

                  ภายในโครงสร้างโมเลกุลของเซลลูโลสหน่วยเล็กที่สุดหากการย่อยสลายสมบูรณ์จะได้น้ำตาลกลูโคส
                  (พิจิตรา และคณะ, 2548)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22