Page 35 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3. การด าเนินการทางวินัย
“การคุกคามทางเพศในการท างาน (หน่วยงานภาครัฐ)” แม้อาจไม่ถึงขั้นเป็นการ
กระท าความผิดตามกฎหมายอาญา แต่ก็อาจมีความผิดในทางวินัยของข้าราชการได้
3.1 ความหมายของวินัย
วินัย คือ การควบคุมความประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน
ซึ่งวินัยข้าราชการพลเรือน ได้แก่ บทบัญญัติวินัยที่ก าหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
เช่น ก าหนดให้ข้าราชการต้องซื่อสัตย์สุจริต ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ รักษาความลับของทางราชการ
ปฏิบัติตามค าสั่งของผู้บังคับบัญชา และรักษาชื่อเสียงของตน เป็นต้น นอกจากนี้ วินัย ยังหมายถึง
ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าสามารถจะควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบของบทวินัย
ตามที่ก าหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวด้วย
3.2 ขอบเขตและความส าคัญของวินัย
ในฐานะที่ข้าราชการเป็นตัวแทนของรัฐในการบริหารราชการและ
ติดต่อประชาชน ข้าราชการจึงต้องท าตัวให้ประชาชนเชื่อถือไว้วางใจและเป็นตัวอย่างที่ดีของประชาชน
เมื่อข้าราชการมีวินัยดี ประชาชนก็จะมีความเชื่อถือศรัทธาผู้นั้น และส่งผลให้ประชาชนศรัทธาในหน่วยงาน
และรัฐบาลโดยส่วนรวมอีกด้วย
โดยที่ข้าราชการจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นที่ศรัทธาของประชาชน
จึงต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดกว่าลูกจ้างของเอกชน เช่น พนักงานของธนาคารหรือบริษัทต่าง ๆ
โดยจะต้องรักษาชื่อเสียง ไม่กระท าการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เป็นต้น
3.3 จุดมุ่งหมายของวินัย โดยวินัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
3.3.1 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของราชการ
3.3.2 ความเจริญของประเทศ
3.3.3 ความมั่นคงของชาติ
3.3.4 ความผาสุกของประชาชน
3.4 ผลดีของวินัยต่อราชการ
3.4.1 เพิ่มพลังงาน เมื่อข้าราชการมีวินัยดีก็จะปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์
และมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มที่
3.4.2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน เมื่อข้าราชการตั้งใจ
ท างานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ก็จะท างานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลส าเร็จอย่างคุ้มค่า
และอย่างประหยัด
3.4.3 ท าให้ประชาชนศรัทธา นอกจากประชาชนจะศรัทธาต่อตัวข้าราชการเองแล้ว
ยังส่งผลให้ประชาชนศรัทธาต่อหน่วยงานและศรัทธาต่อรัฐบาลอีกด้วย