Page 24 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 24

18


                            วิธีการประเมินการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ ทั้ง 2 วิธี ดังกล่าวเป็นวิธีการที่มีความยุ่งยาก
               มีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลานาน และประเมินได้ในพื้นที่จ ากัด ไม่สามารถประเมินข้อมูลการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ

               (NPP) ในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ โดยในปัจจุบันได้มีการน าเทคโนโลยีส ารวจข้อมูลระยะไกล (Remote  Sensing)
               มาใช้ในการวัดประเมิน ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสามารถวัดประเมินครอบคลุมพืชพรรณได้หลายชนิด
               ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้เวลารวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การวัดประเมิน NPP จากข้อมูลภาพถ่าย
               ดาวเทียม ไม่สามารถวัดได้โดยตรง แต่สามารถประเมินได้จากสหสัมพันธ์ระหว่างส่วนการดูดกลืนแสงที่ใช้งาน

               ในการสังเคราะห์แสงของพืช (FAPAR) กับความแข็งแรงในการเจริญเติบโตของพืชและชีวมวล โดยวิธีที่นิยมใช้
               มากที่สุดในการประเมิน คือ การประเมินจากดัชนีพืชพรรณ (normalized Difference Vegetation Index –
               NDVI) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการผลิตของพืช และมวลชีวภาพ (Tucker, 1979) เป็นค่าที่บอกถึงสัดส่วน
               ของพืชพรรณที่ปกคลุมพื้นผิว โดยน าช่วงคลื่นใกล้อินฟาเรด (NIR) กับช่วงคลื่นที่ตามองเห็นสีแดง (RED)

               ที่สะท้อนจากพื้นผิวมาค านวณผลต่างของการสะท้อน
                              การวิเคราะห์ และประเมินความเสื่อมโทรมจากการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพของที่ดินในครั้งนี้
               ได้ใช้ชุดข้อมูล MOD17A3H v006 ของดาวเทียม Terra MODIS ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย ในช่วงปี พ.ศ. 2550-
               2565 ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลการแผ่รังสี (Photosynthetically Active Radiation : FAPAR) และการ

               ผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิของพืช (NPP) ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่สร้างขึ้นจากชุดข้อมูล MOD17A2H NPP ที่ค านวณการ
               ผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิในรูปแบบอนุกรมเวลา (time  series)  เก็บข้อมูลทุก 8 วัน สามารถตรวจเก็บข้อมูล
               ในช่วงเวลาที่พืชพรรณมีมวลชีวภาพสูงสุด และมีความละเอียดสูง ชุดข้อมูลดังกล่าวมีการปรับเทียบตัวชี้วัด

               และพารามิเตอร์ให้ตรงกับสภาพแวดล้อมทั่วโลก (Running and Zhao, 2015) น ามาค านวณหาค่าเฉลี่ยเป็น
               รายปี (temporal resolution) มีความละเอียดขนาดพิกเซล 500 เมตร (spatial resolution) แม้ว่าในการ
               แปลผลผลิตขั้นปฐมภูมิเป็นรายปี จะท าให้การแปลผลิตภาพของที่ดินคลาดเคลื่อน เนื่องจากผลิตภาพของที่ดิน
               มีลักษณะเป็นพลวัตร มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลา และมีความแตกต่างกันในแต่ละสภาพภูมิอากาศ
               ภูมิประเทศ เนื้อดิน และกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ท าให้ปริมาณผลิตภาพของที่ดินแตกต่างกันใน

               เชิงพื้นที่ (Fensholt et al., 2013; Ma et al., 2015) อย่างไรก็ตามการใช้ชุดข้อมูลนี้สามารถช่วยลดความยุ่งยาก
               ของกระบวนการค านวณปริมาณผลผลิตขั้นปฐมภูมิ ในหน่วยที่สามารถวัดได้ในสนาม (Yengoh et al., 2015)
                              ส าหรับวัตถุประสงค์ของการรายงานตัวชี้วัด SDG 15.3.1 ไม่จ าเป็นที่จะต้องค านวณปริมาณ

               การเปลี่ยนแปลงของผลผลิตในหน่วยชีวมวลของการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ (NPP)  แต่เพียงเพื่อที่จะทราบว่า
               ก าลังการผลิตเพิ่มขึ้น (บวก) ลดลง (ลบ) หรือมีเสถียรภาพส าหรับหน่วยที่ดินในเวลาใดเวลาหนึ่ง
               การเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ในดัชนีแบบไม่มีหน่วย เช่น NDVI ซึ่งเพียงพอที่จะก าหนดความเสื่อมโทรมของที่ดิน
               (Sims et al., 2017)


                         3) ตัวชี้วัดกำรกักเก็บคำร์บอนอินทรีย์ในดิน
                            การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดิน เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์
               จากบรรยากาศมาเก็บสะสมไว้ในส่วนของชีวมวล และดินอย่างยาวนาน โดยปริมาณการสะสม เรียกว่า
               คลังคาร์บอน ซึ่งคาร์บอนบางส่วน โดยเฉพาะส่วนที่มีเสถียรภาพต่ า อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งในส่วนของ

               การสะสมหรือการสูญหายจากระบบดินได้ โดยการปลดปล่อยคาร์บอนในรูปก๊าช
                            ส าหรับวิธีการวัดประเมินปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน โดยพื้นฐานทั่วไป ต้องเป็นวิธีการ
               ที่สามารถประเมินครอบคลุมลักษณะของดินประเภทต่างๆ ที่มีความหลากหลาย และต้องเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ

               มีความคุ้มค่า การวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน ด้วยวิธีการเพียงวิธีเดียว เป็นวิธีที่มีความท้าทาย
               เนื่องจากปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินจะมีความแตกต่างกันไปตามความลึก ลักษณะของดิน ลักษณะภูมิ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29