Page 21 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 21

15


                                                        ส่วนที่ 3


                                                    วิธีกำรด ำเนินงำน


               3.1 กำรศึกษำข้อมูลเส้นฐำนอ้ำงอิงที่เกี่ยวข้องกับกำรด ำเนินกำรจัดท ำเป้ำหมำยตัวชี้วัดควำม
               สมดุลของกำรจัดกำรทรัพยำกรที่ดิน

                    3.1.1 ฐำนข้อมูลที่ใช้ในกำรประเมินควำมเสื่อมโทรมของทรัพยำกรที่ดิน ตำมตัวชี้วัดควำมสมดุล
               ของกำรจัดกำรทรัพยำกรที่ดิน
                         การประเมินความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดิน ตามตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ตัวชี้วัดสิ่ง

               ปกคลุมดิน หรือการใช้ที่ดิน (Land Use/ Cover: LUC) ตัวชี้วัดผลิตภาพของที่ดิน (Land Productivity: LP
               และตัวชี้วัดการกักเก็บอินทรีย์คาร์บอนในดิน (Soil  Organic  Carbon  Stock:  SOC  Stock)  โดยในแต่ละ
               ตัวชี้วัดต้องพิจารณาจากฐานข้อมูลเดิมที่มีการเก็บข้อมูลย้อนหลังไปไม่น้อยกว่า 10 ปี จากปีปัจจุบัน ซึ่งจะใช้
               ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความเสื่อมโทรมของที่ดิน ณ ปีฐาน และหากฐานข้อมูลตัวชี้วัดตัวใดตัวหนึ่งยัง

               ไม่มีการจัดเก็บในปีปัจจุบัน ต้องพิจารณาการได้มาซึ่งข้อมูลในแต่ละประเภท เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเป็น
               ปัจจุบันมากที่สุด ซึ่งอาจได้จากข้อมูลการส ารวจระยะไกล หรือจากภาพถ่ายดาวเทียม และการเก็บข้อมูล
               ส ารวจจากภาคสนาม ในการพิจารณาข้อมูลที่น ามาใช้ในการวิเคราะห์ทั้ง 3 ตัวชี้วัด มีรายละเอียด ดังนี้


                         1) ตัวชี้วัดสิ่งปกคลุมดิน หรือกำรใช้ที่ดิน
                            บริบทของตัวชี้วัด SDG  15.3.1 การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน หรือสิ่งปกคลุมดิน ชี้ให้เห็นถึง
               ความเสื่อมโทรมของที่ดิน เมื่อมีการสูญเสียผลิตภาพของที่ดินในแง่ของการบริการระบบนิเวศ
               การเปลี่ยนแปลงจากประเภทการใช้ที่ดินแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบ เป็นได้ทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และแบบ

               รวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากการรบกวนทางสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ
               ทางธรรมชาติ หรือจากการกระท าของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น การเปลี่ยนแปลง
               ความอุดมสมบูรณ์ของดิน พืช หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้ผลิตภาพ
               ที่ดินลดลง การสูญเสียมวลชีวภาพ การลดลงของพืชคลุมดิน และธาตุอาหารในดินลดลง (Di Gregorio et al., 2011)

                            การประเมินตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของที่ดิน ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จะใช้
               เกณฑ์ประเมินจากคู่มือการประเมินตัวชี้วัด SDG 15.3.1 ของ UNCCD (Sim et al., 2017) ดังแสดงในตารางที่ 2
               ซึ่งประเมินจากการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ที่ดินหลัก เช่น พื้นที่ป่าไม้ เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่

               ทุ่งหญ้า พื้นที่สิ่งปลูกสร้าง หรือเปลี่ยนแปลงในทางกลับกัน แสดงผลในรูปของตารางเมตริก สรุปเหตุการณ์ที่
               เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ 30 แบบ โดยใช้สัญลักษณ์ของสีเป็นสิ่งบอกว่าพื้นที่นั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลง
               ได้แก่ สีน้ าเงิน แสดงว่าพื้นที่นั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีสถานะคงที่ (stable) สีแดง แสดงว่า พื้นที่นั้นเกิด
               ความเสื่อมโทรม (degradation)  และสีเขียว แสดงว่าพื้นที่นั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงในทางบวก หรือมีการ
               ปรับปรุงให้ดีขึ้น (improved)
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26