Page 19 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 19

13


                       จากตัวชี้วัดส าหรับวิเคราะห์ความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ สิ่งปกคลุมดิน
               ผลิตภาพของที่ดิน และปริมาณคาร์บอน ซึ่งได้น ามาจัดท าข้อมูลเส้นฐานอ้างอิง หรือ baseline (t )
                                                                                                        0
               ของประเทศไทย ตัวชี้วัดดังกล่าวจะใช้ในการประเมินสถานะความเสื่อมโทรมของที่ดิน โดยมีวิธีการ ดังนี้
                            ความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน = สถานะของตัวชี้วัดในปีที่ติดตามประเมินผล (T )
                                                                                                        1
               สถานะของตัวชี้วัดจากข้อมูลเส้นฐานอ้างอิง หรือ baseline (t )
                                                                  0

                       ทั้งนี้ ในการบรรลุความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน สัดส่วนของพื้นที่ความเสื่อมโทรมของ
               ที่ดินจะต้องมีจ านวนเท่าเดิม หรือลดน้อยลง ในปัจจุบัน หลักการของ LDN  ได้ผนวกเข้ากับการจัดท าตัวชี้วัด
               เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2015-2030 ซึ่งแนวคิดในการพัฒนาข้อมูลตามเป้าประสงค์ที่ 15 ตัวชี้วัด
               ที่ 15.3.1 ก็จะใช้หลักแนวคิดและตัวชี้วัดเดียวกัน โดยตัวชี้วัดที่ 15.3.1 ก าหนดว่า “สัดส่วนของพื้นที่ดินที่
               ได้รับความเสื่อมโทรมเทียบกับพื้นที่ของประเทศทั้งหมด (proportion of land that is degraded

               overtotal  land  area)  ซึ่งการวิเคราะห์พื้นที่ความเสื่อมโทรมของที่ดินจะต้องน าตัวชี้วัดทั้ง 3 มาวิเคราะห์
               ร่วมกัน ภายใต้หลักการแนวคิด One-out,  All-out  คือ แนวคิดในการประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดิน
               โดยเมื่อตัวชี้วัดอันใดอันหนึ่งส่งสัญญาณไปในทางลบ จะหมายถึงพื้นที่นั้นเกิดความเสื่อมโทรมของที่ดิน

               หรือเรียกว่า loss  ในทางกลับกันหากมีตัวชี้วัดหนึ่งตัวที่ส่งสัญญาณทางบวก และไม่มีตัวชี้วัดอื่นที่แสดงผล
               ในทางลบ จะหมายถึง พื้นที่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก หรือได้รับการฟื้นฟูให้คืนสภาพจากความ
               เสื่อมโทรมของที่ดิน หรือเรียนกว่า Gain  หากมีตัวชี้วัดใดที่แสดงผลในทางลบพื้นที่นั้นก็จะเป็นพื้นที่ที่เสื่อมโทรม
               โดยการวิเคราะห์ตามหลักการ One-out, All-out ควรจะมีฐานข้อมูลตัวชี้วัดในความละเอียดระดับเดียวกันมา

               วิเคราะห์ร่วมกันเพื่อลดความซ้ าซ้อน หรือความผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งจากการประเมินข้อมูลเส้นฐานอ้างอิง
               ของประเทศไทย ได้ใช้แหล่งที่มาของข้อมูลที่แตกต่างกันโดยมีฐานข้อมูลสิ่งปกคลุมดินเป็นข้อมูลใน
               ระดับประเทศ ส่วนข้อมูลตัวชี้วัดอื่นเป็นข้อมูลในระดับ Global Data ซึ่งยังไม่สามารถน าตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวชี้วัด
               มาวิเคราะห์ร่วมกัน และค านวณพื้นที่ความเสื่อมโทรมของที่ดิน

                      อย่างไรก็ตาม อนุสัญญา UNCCD ได้ก าหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกใช้ฐานข้อมูลในระดับ Global
               Data มาใช้ประโยชน์ ในกรณีที่ประเทศภาคีสมาชิกยังไม่มีความพร้อมด้านข้อมูลจากเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อ
               ช่วยสนับสนุนประเทศภาคีสมาชิกภายใต้ชื่อ Trends Earth ซึ่งเป็นโครงการในการติดตามความเปลี่ยนแปลง
               ความเสื่อมโทรมของที่ดิน โดยหน่วยงาน Conservation  International,  Lund  University,  National

               Aeronautics  and  Space  Administration  และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาฐานข้อมูลจาก
               กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Trends. Earth, 2018) โดยการวิเคราะห์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความเสื่อมโทรม
               ของที่ดินสามารถใช้ฐานข้อมูลในระดับ Global  Data  ในช่วงปี 2001-2015 จาก Trends.  Earth  พบว่า

               ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนา หรือฟื้นคืนจากความเสื่อมโทรมของที่ดิน (land  area  improved)
               ร้อยละ 32.90 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่ที่มีสถานะคงที่ไม่มีสัญญาณของความเสื่อมโทรมของที่ดิน
               (land area stable) ร้อยละ 44.72 ของพื้นทีทั้งประเทศ และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของที่ดิน
               (Land area degraded) ร้อยละ 21.93 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมีพื้นที่ที่ไม่มีข้อมูล (land area with no
               data) จ านวนร้อยละ 0.45 ของพื้นที่ทั้งประเทศ

                      เมื่อได้ข้อมูลเส้นฐานอ้างอิง หรือ baseline ในระดับประเทศแล้วให้ก าหนดเป้าหมาย และมาตรการ
               ความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ดังนี้
                          เป้าหมายที่ 1 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ของประเทศให้เพิ่มขึ้น ด้วยการปลูกป่าและฟื้นฟูสภาพ

               ป่าต้นน้ าเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน รวมถึงป่าชายเลนและป่าโกงกางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24