Page 26 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 26

20


                         2) การจัดท าฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS database)
                         เป็นการจัดท าข้อมูลทั้งเชิงพื้นที่ (spatial data) และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data)  โดย

               การน าเข้าข้อมูลแผนที่เข้าในระบบสารสนเทศด้วยโปรแกรมวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศ
               ภูมิศาสตร์ ดังนี้
                            (1) การจัดท าฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นการน าเข้าข้อมูลในรูปแผนที่เพื่อใช้วิเคราะห์และ
               ประมวลผลเชิงพื้นที่ ได้แก่ แผนที่การใช้ที่ดิน ในช่วงปี พ.ศ. 2550 และปี พ.ศ. 2565 กรมพัฒนาที่ดิน

               และแผนที่ขอบเขตการปกครอง พ.ศ. 2556 จากกรมการปกครอง
                             (2) การจัดท าฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data) เป็นการน าเข้าข้อมูลด้าน
               คุณลักษณะของแผนที่ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเชิงพื้นที่ โดยท าการแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
               ออกเป็น 6 ประเภท ตามระบบการจ าแนกของ Food  and  Agriculture  Organization’s  Land  Cover

               Classification Systems-LCCS (2016) ดังนี้
                               - พื้นที่ป่าไม้ (tree-covered area) หมายถึง ป่าไม้ทั้งหมด ได้แก่ ป่าไม่ผลัดใบ ป่าผลัดใบ
               ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าปลูก วนเกษตร และป่าชายหาด
                               - พื้นที่ทุ่งหญ้าไม้ละเมาะ (grassland) หมายถึง ทุ่งหญ้าไม้ละเมาะทั้งหมด

                               -  พื้นที่เกษตรกรรม (cropland) หมายถึง พื้นที่ท าการเกษตรทั้งหมด ได้แก่ นาข้าว พืชไร่
               ไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชสวน ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ สนามกอล์ฟ และเกษตรผสมผสาน
                               -  พื้นที่ชุ่มน้ า (wetland) หมายถึง แหล่งน้ าธรรมชาติ แม่น้ าล าคลอง หนองบึง และแหล่งน้ าที่

               สร้างขึ้น อ่างเก็บน้ า บ่อน้ า คลองชลประทาน รวมถึงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ าต่างๆ พืชน้ า พื้นที่ลุ่มน้ าขัง และบ่อขุดร้าง
               ที่มีน้ าขัง
                               -  พื้นที่ชุมชน/สิ่งปลูกสร้าง (artificial  surfaces) หมายถึง พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง
               ทั้งหมด เช่น ตัวเมืองและย่านการค้า หมู่บ้านชุมชน สถานที่ราชการ สถานีคมนาคม พื้นที่อุตสาหกรรม
               นิคมและโรงงานอุตสาหกรรม และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมถึงตัวโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

                               - พื้นที่อื่นๆ (other land) หมายถึง พื้นที่เบ็ดเตล็ดต่างๆ ได้แก่ เหมืองแร่และบ่อขุดต่างๆ
               และพื้นที่อื่นๆ
                         3) จัดท าแผนที่การใช้ที่ดิน 14 จังหวัด ตามระบบการจ าแนกของ FAO ช่วงปี พ.ศ. 2550 และปี พ.ศ. 2565

               เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต่อไป
                         4) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ตามเกณฑ์การประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดินที่เกิด
               จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของ LUC ดังตารางที่ 2 ในช่วงปี พ.ศ.2550 และปี พ.ศ.2565 ขึ้นอยู่กับข้อมูล
               การใช้ที่ดินในแต่ละจังหวัด เพื่อประเมินระดับความเสื่อมโทรมของที่ดินที่เกิดจากตัวชี้วัดของการเปลี่ยนแปลง

               การใช้ที่ดินและระบุพื้นที่เชิงต าแหน่งเพื่อน าไปวิเคราะห์ความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน
               (Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อก าหนดมาตรการการจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ต่อไป

                    3.2.2 ตัวชี้วัดกำรผลิตขั้นปฐมภูมิ (NPP)
                         1) ตรวจสอบเอกสารและรวบรวมฐานข้อมูลแผนที่ ได้แก่ ผลงานวิจัยต่างๆ และแผนที่ขอบเขตการ

               ปกครอง พ.ศ. 2556 จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเป็นต้น
                         2) รวบรวมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และปรับแก้ความถูกต้อง เป็นการรวบรวมข้อมูลภาพถ่าย
               ดาวเทียมชนิด MOD17A3Hv006 MODIS ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย ในช่วงปี พ.ศ.2550–2565 จากเวปไซด์

               https://lpdaac.usgs.gov/products/mod17a3hgfv006/ ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม MOD17A3Hv006
               MODIS เป็นข้อมูลรายปี
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31