Page 20 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 20
14
เป้าหมายที่ 2 ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีศักยภาพในการให้ผลผลิตที่ดี
โดยเน้นการเกษตรแบบยั่งยืน
เป้าหมายที่ 3 ลดการสูญเสียคาร์บอนในดิน และเพิ่มปริมาณการกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดิน
ด้วยการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยสร้างการรับรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการที่ดิน
โดยในแต่ละเป้าหมายได้ก าหนดมาตรการในการด าเนินงานไว้ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 เกี่ยวข้องกับการวางแผนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินเพื่อการเกษตรให้สอดคล้องกับ
ผังประเทศ และเป้าหมายเพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ประเทศส่งเสริมการปลูกป่า หรือไม้โตเร็วอย่างจริงจัง
เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและส่งเสริม พัฒนา กฎกติกาของชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้
การปลูกป่าในรูปแบบวนเกษตรการจัดการพื้นที่ป่าที่มีลักษณะเป็นกลุ่มป่าหรือผืนป่า โดยให้ความส าคัญกับ
พื้นที่ต้นน้ าที่เป็นพื้นที่รอยต่อตามแนวเขตอนุรักษ์กับพื้นที่เกษตร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
เป้าหมายที่ 2 เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการที่ดิน
แบบยั่งยืน การปฏิบัติด้านเกษตรกรรมที่ดี การใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน ระบบการ
เกษตรกรรมที่สามารถปรับตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในระดับ
ชุมชน สนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และจัดการทรัพยากรที่ดินให้เกิดความสมดุลของการ
จัดการทรัพยากรที่ดิน ก าหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการส าหรับการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม เพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการน้ าเพื่อการจัดการ พื้นที่เกษตร
เป้าหมายที่ 3 เน้นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าวิธีกลและวิธีพืช การปรับปรุงบ ารุงดินที่ถูกวิธี
และเหมาะสมในพื้นที่เกษตรกรรมแบบพื้นที่ลาดชัน และที่ราบลุ่ม ส่งเสริมการลดการเผาตอซังพืช ควบคุมการ
เผาป่า และการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และศึกษา พัฒนาฐานข้อมูลผลิตภาพของดิน และปริมาณ
คาร์บอนอินทรีย์ในดินระดับประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2565 (ภาพที่ 4)
ภำพที่ 4 เป้าหมายความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดินประเทศไทย
ที่มำ: เสาวนีย์ (2564)