Page 23 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 23

17


               ตำรำงที่ 3 ช่วงปีข้อมูลการใช้ที่ดินที่ใช้ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
                          (พื้นที่เป้าหมาย ปีงบประมาณ 2566) (ต่อ)


                                                               ช่วงปีของข้อมูลกำรใช้ที่ดินที่ใช้ในกำร
                                                 ส ำนักงำน
                       จังหวัดเป้ำหมำย                              วิเครำะห์ (มำกกว่ำ 10 ปี)
                                              พัฒนำที่ดินเขต
                                                                   ปี พ.ศ.           ปี พ.ศ.

                          เพชรบูรณ์                 8               2550              2563
                           สุโขทัย                  9               2550              2564
                           เพชรบุรี                 10              2550              2563

                            พังงา                   11              2550              2564
                            สตูล                    12              2550              2564

               หมำยเหตุ : เป็นข้อมูลการใช้ที่ดินของจังหวัดที่มีการจัดท า (LDN baseline)


               ที่มำ : กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน, 2564

                         2) ตัวชี้วัดผลิตภำพของที่ดิน

                            ความสามารถในการให้ผลผลิตของที่ดิน หรือ ผลิตภาพของที่ดิน (Land  Productivity)
               คือ ก าลังการผลิตทางชีวภาพของที่ดินซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเชื้อเพลิงที่ค้ าจุนมนุษย์ ผลิตภาพของที่ดินจะ
               เป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงในระยะยาวทั้งในด้านสุขภาพ และความสามารถในการให้ผลผลิตของที่ดิน
               ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบสุทธิของการเปลี่ยนแปลงในการท างานของระบบนิเวศที่มีต่อการเจริญเติบโต

               ของพืช และชีวมวล
                            การประเมินผลิตภาพของที่ดิน สามารถประเมินได้จากข้อมูลการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ
               (Net Primary Productivity: NPP) การผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ คือ ปริมาณคาร์บอนที่เหลือจากการหายใจและ
               สังเคราะห์แสงของพืช มีหน่วยเป็น ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ต่อปี เป็นความแตกต่างระหว่างพลังงานเคมีที่เป็น

               ประโยชน์ที่ผลิตโดยพืชในระบบนิเวศและเป็นส่วนหนึ่งของพลังงานที่ใช้ส าหรับการหายใจของเซลล์ NPP
               ใช้ในการประเมินการท างานของระบบนิเวศ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ เพื่อตรวจสอบ
               สุขภาพของพืช การเปลี่ยนแปลงของผลผลิตในช่วงเวลา (Clark et al., 2001) กล่าวอีกนัยหนึ่ง การผลิตขั้น

               ปฐมภูมิสุทธิ คือส่วนของเนื้อเยื่อที่เกิดจากการสังเคราะห์แสง และมีหน้าที่ต่อการเจริญเติบโตของพืชในขณะใด
               ขณะหนึ่งนั้นเรียกว่า มวลชีวภาพ (biomass)  ซึ่งนิยมวัดออกมาในรูปของน้ าหนักแห้ง โดยปกติวิธีการวัดค่า
               การผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิมี 2 วิธี ได้แก่ 1) วิธี input method หรือ Photosynthetic technique เป็นการวัด
               ปริมาณการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จากอากาศกับเรือนยอดของหมู่ไม้ หรือเป็นการวัดปริมาณการ
               สังเคราะห์แสงของหมู่ไม้เพื่อประเมินหาค่าผลผลิตขั้นปฐมภูมิทั้งหมด และ 2) วิธี output  method  หรือวิธี

               sumpmation method หรืออาจเรียกว่า harvest method เป็นการวัดปริมาณผลผลิตขั้นปฐมภูมิโดยการ
               วัดความเพิ่มพูนของมวลชีวภาพ (biomass  increment)  ปริมาณการหายใจของหมู่ไม้ ปริมาณการร่วงหล่น
               ของซากพืชและปริมาณการกัดกินของซากสัตว์ โดยแยกวัดปริมาณดังกล่าวแต่ละส่วนแล้วน ามารวมกัน

               ซึ่งหมายถึงการประมาณค่าการเพิ่มพูนของมวลชีวภาพ โดยการคัดและชั่งน้ าหนักภายในช่วงเวลาที่แน่นอน
               (Kira and Shidei, 1967)
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28