Page 25 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 25

19


               ประเทศ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการวัดและประเมินพลวัตรคาร์บอนในดินหลากหลายวิธี
               แต่ยังไม่มีวิธีการที่เป็นมาตรฐานที่จะวัดปริมาณคาร์บอนทั้งหมดในดิน (Laurenz  and  Lal,  2016) ซึ่งมีทั้ง

               วิธีการที่ประเมินปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินได้อย่างรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อย โดยการวิเคราะห์จาก
               ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งให้ผลการประเมินที่มีความถูกต้องในระดับหนึ่ง (ViscarraRossel et al., 2006;
               Miltz and Don, 2012) ในขณะที่วิธีการวัดประเมินในอดีต ก็ยังคงมีความนิยมอยู่เช่นเดิม เช่น วิธี dry
               combustion (USDA, 1996) วิธี Walkley and Black wet oxidation (Nelson and Sommers, 1996)

               ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะแนะน าให้ใช้ วิธี dry  combustion  เนื่องจากวิธีนี้ไม่ต้องแก้ไขปัญหาการออกซิเดชั่นที่ไม่
               สมบูรณ์ ทั้งที่เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าวิธี Walkley and Black wet oxidation ทั้ง 2 วิธีการ ต้องมี
               การเตรียมตัวอย่างดินที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแบบจ าลองต่างๆ ที่จะประยุกต์ใช้
               วิธีการวิเคราะห์ประเมินในห้องปฏิบัติร่วมกับวิธีการที่สามารถประมาณค่าที่ไม่ได้วัดในพื้นที่กว้างๆ ที่มีความ

               หลากหลายของคุณสมบัติของดิน โดยมีการสอบเทียบค่าที่วัดประเมินได้จริง จะท าให้การประเมินค่าอินทรีย์
               คาร์บอนในดิน มีความรวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น (Shepherd and Walsh, 2002)
                            ส าหรับการวิเคราะห์ และประเมินตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของที่ดินจากการเปลี่ยนแปลง
               ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดินครั้งนี้ได้ใช้ฐานข้อมูลดินจากการเก็บตัวอย่างดินที่มีการส ารวจข้อมูล

               ทั้งประเทศ ในโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 ตัวอย่างดิน ในปี พ.ศ. 2552 โดยคัดเลือกเฉพาะจุดเก็บตัวอย่างดิน
               ที่มีค่าวิเคราะห์ดิน ค่าอินทรียวัตถุในดิน ซึ่งมีการเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แต่เนื่องจาก
               ในปีปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลค่าวิเคราะห์ดิน ค่าอินทรียวัตถุในดิน ในบริเวณดังกล่าว จึงต้องพิจารณาจาก

               ฐานข้อมูลดินที่มีการเก็บตัวอย่างดิน ในพื้นที่ในโครงการอื่นๆ ร่วมด้วย และพิจารณาการเก็บตัวอย่างดิน
               เพิ่มเติม เพื่อให้มีการกระจายข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ที่จะศึกษาทั่วทั้งจังหวัด ทั้งนี้จะน าฐานข้อมูลสมบัติดินจาก
               แผนที่ชุดดิน มาตรส่วน 1: 25,000 ของจังหวัดต่างๆ ที่จัดท าโดยกองส ารวจและวิจัยทรัพยากรดิน
               (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) พิจารณาร่วมด้วยเช่นกัน

                    3.1.2 ข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดิน และระบุพื้นที่ที่เสี่ยงต่อ
               การเกิดความเสื่อมโทรม (Hot Spot) ในระดับพื้นที่จะสามารถระบุประเด็นปัญหา สาเหตุของความเสื่อมโทรม
               ของที่ดินในแต่ละพื้นที่ และน าไปสู่การก าหนดมาตรการการจัดการที่ดินในพื้นที่นั้นๆ โดยอาศัยข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ
               ที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการพัฒนาที่ดินต่างๆ ในพื้นที่เป้าหมาย สมบัติของดินในพื้นที่ พื้นที่เสี่ยงต่อการ ชะล้าง

               พังทลายของดิน พื้นที่การเกิดดินดาน หรือพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกิดชั้นดานในชั้นไถพรวน พื้นที่เสี่ยงต่อการ
               แพร่กระจายดินเค็ม การกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ และแผนพัฒนาในพื้นที่เป้าหมายเป็นต้น


               3.2 กำรเก็บรวบรวม และกำรวิเครำะห์ข้อมูลตัวชี้วัด
                    3.2.1 ตัวชี้วัดกำรเปลี่ยนแปลงกำรใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน (Land use / Land cover change: LUC)
                         1) รวบรวมและตรวจสอบเอกสาร ทั้งในรูปของแผนที่ และรายงานที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานอื่นๆ
               ได้แก่

                            (1) แผนที่การใช้ที่ดินของจังหวัด ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 และปี พ.ศ. 2565 มาตราส่วน
               1: 25,000 จากฐานข้อมูลกรมพัฒนาที่ดิน
                            (2) แผนที่ขอบเขตการปกครอง พ.ศ. 2556 จากกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30