Page 16 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 16
10
การจัดท า LDN Target Setting Programme ด าเนินงานโดย Global Mechanism (GM) ซึ่งจะใช้
ผู้เชี่ยวชาญของแต่ละประเทศ (national expert) ในการจัดท า LDN baseline มีการด าเนินงานตามขั้นตอน
ดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- ขั้นตอนที่ 2 การจัดท าข้อมูลเส้นฐานอ้างอิง LDN baseline
- ขั้นตอนที่ 3 ประเมินแนวโน้มความเสื่อมโทรมของที่ดิน
- ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาสาเหตุของปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดิน
- ขั้นตอนที่ 5 ก าหนดเป้าหมาย LDN ซึ่งเป็นเป้าหมายตามความสมัครใจ
- ขั้นตอนที่ 6 ขยายผล LDN สู่ระดับนโยบาย/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
- ขั้นตอนที่ 7 ก าหนดมาตรการเพื่อจัดการกับปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดิน
- ขั้นตอนที่ 8 ส่งเสริมมาตรการที่น าไปสู่ความส าเร็จ
- ขั้นตอนที่ 9 การติดตาม ประเมินผล LDN
- ขั้นตอนที่ 10 การรายงานผล LDN
ในการจัดท าเป้าหมายความสมดุลของการจัดการทรัพยากรดิน หรือ LDN Target Setting
Programme ในแต่ละประเทศ โดยส่วนใหญ่ส าหรับประเทศที่ไม่มีฐานข้อมูลที่ละเอียดในระดับประเทศ จะใช้
ข้อมูลในระดับโลก หรือ Global Data ซึ่งด าเนินการโดย Global Mechanism และมีการประเมินพื้นที่เสื่อม
โทรมในแต่ละประเทศ โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยใช้หลักเกณฑ์ One-Out, All-Out
จากนั้นน าพื้นที่เสื่อมโทรมมาค านวณหาสัดส่วนของพื้นที่ความเสื่อมโทรมเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด เพื่อใช้เป็น
พื้นที่เป้าหมายในการจัดการที่ดินตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 15.3.1 ซึ่งผลการประเมินระดับโลก
แสดงดังตารางที่ 1 และภาพที่ 2
ตำรำงที่ 1 สัดส่วนของพื้นที่เสื่อมโทรมต่อพื้นที่ทั้งหมด ระดับโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 15.3.1
ที่มำ: United Nations Economic and Social Council (2019)