Page 15 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 15

9


                              1) สิ่งปกคลุมที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (land cover and land use change : LUC)
                              2) ผลิตภาพของที่ดิน (land productivity: LP) ซึ่งในระดับโลกก าหนดให้ใช้ NDVI

               เป็นเครื่องมือในการวัดผลิตภาพการผลิตของที่ดิน โดยจัดชั้น (classes) ให้ทราบว่าพื้นที่ใดมีความ
               เปลี่ยนแปลงผลิตภาพการผลิตที่ลดลง หรือมีความเสี่ยงต่อผลิตภาพการผลิตไม่เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มขึ้น
               โดยพื้นที่ที่จัดอยู่ในช่วงที่มีผลิตภาพการผลิตลดลง มีความเสี่ยงต่อปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดิน
                              3) การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (Soil Organic Carbon Stocks: SOC Stock)


                              ตัวชี้วัดทั้ง 3 ประเภท แบ่งระดับการได้มาซึ่งฐานข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ คือ
                              Tier 1 = ระดับ Global scale (Default method) การได้มาซึ่งข้อมูลได้จากการใช้
               แบบจ าลอง หรือจากการส ารวจระยะไกลในระดับหยาบ
                              Tier 2 = ระดับประเทศ การได้มาซึ่งข้อมูลเป็นข้อมูลจากสถิติระดับประเทศ หรือระดับลุ่มน้ า

                              Tier 3 = ระดับละเอียด การได้มาซึ่งฐานข้อมูลได้จากการส ารวจภาคสนาม

                       ในขั้นแรกประเทศที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับข้อมูลตัวชี้วัดทั้ง 3 ประเภท ซึ่งเป็นข้อมูลในระดับโลก
               หรือ Global Scale (Tier1) เป็นข้อมูลจากปี ค.ศ. 2015 ย้อนหลังไป 10-15 ปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลเส้นฐานอ้างอิง

               (baseline)  ในการจัดท าเป้าหมาย LDN  อย่างไรก็ตามหากประเทศใดมีข้อมูลที่มีความละเอียดกว่าข้อมูล
               ในระดับ Global Scale จะสามารถน าข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวิเคราะห์จัดท าเป้าหมาย LDN ได้ ซึ่งจะ
               น าไปประเมินพื้นที่ความเสื่อมโทรมของที่ดินในระดับประเทศ ประเมินความรุนแรง และสาเหตุของความเสื่อม

               โทรม น ามาสู่มาตรการในการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดิน โดยเป้าหมาย LDN จะใช้เป็นตัวชี้วัด
               ส าหรับตัวชี้วัดที่ 15.3 ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่งในระยะเวลา 15 ปี หรือปี พ.ศ.2573
               (ค.ศ.2030) ผลจากการด าเนินมาตรการแก้ไขปัญหา จะน ามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลในปีเส้นฐาน
               อ้างอิง (baseline) เพื่อประเมินความส าเร็จของการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดิน ซึ่งจ าเป็นต้องคงสถานะ
               ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรมของที่ดินเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า “no  net  loss” ซึ่งมีกรอบการจัดท าตัวชี้วัดความ

               เสื่อมโทรมของที่ดินตามเป้าหมายที่ 15.3.1 ดังภาพที่ 1
















               ภำพที่ 1 กรอบการจัดท าตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของที่ดินตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ที่ 15.3.1


               ที่มำ: The Global Mechanism of UNCCD (2016)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20