Page 13 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 13
7
“ความเสื่อมโทรมของที่ดิน (land degradation)” หมายถึง การลดลงหรือสูญเสียผลิต
ภาพทางชีวภาพหรือทางเศรษฐกิจและความซับซ้อนของพื้นที่ระบบพืชน้ าฝน พื้นที่ระบบพืชชลประทาน หรือทุ่ง
หญ้าป่าในพื้นที่แห้งแล้งกึ่งแห้งแล้ง และอันเนื่องมาจากการใช้ที่ดิน หรือจากกระบวนการ หรือการประกอบกัน
ของกระบวนการ รวมทั้งกระบวนการที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และแบบแผนของการด ารงชีพ
เช่น การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจากลมและ/หรือน้ า ความเสื่อมโทรมของคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี
และชีวภาพหรือเศรษฐกิจของดิน และการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ (natural vegetation) ในระยะยาว
“พื้นที่แห้งแล้ง กึ่งแห้งแล้ง และบริเวณพื้นที่แห้งแล้งของเขตภูมิอากาศกึ่งชื้น
(arid, semi-aridland dry sub – humid areas)” หมายถึง พื้นที่อื่นๆนอกจากขั้วโลก และภูมิภาคย่อย
ขั้วโลก (sub-polar region) ซึ่งมีสัดส่วนของปริมาณน้ าฝนต่อปีต่อแนวโน้มของการคายระเหยอยู่ระหว่าง
0.05 ถึง 0.65
2.2 วัตถุประสงค์ของอนุสัญญำฯ
1) อนุสัญญาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและการบรรเทา
ผลกระทบของภัยแล้งในประเทศที่ประสบกับภัยแล้งและ/หรือการแปรสภาพเป็นทะเลทรายอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา ด้วยการปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพในทุกระดับ ที่สนับสนุนโดยการจัดท าในรูป
ของความร่วมมือ และการมีหุ้นส่วนระหว่างประเทศ ภายในกรอบของแนวทางบูรณาการที่สอดคล้องกับ
แผนปฏิบัติการ 21 โดยค านึงถึงการเอื้ออ านวยต่อการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาการที่ยั่งยืนในพื้นที่
ที่ได้รับผลกระทบ
2) การบรรลุวัตถุประสงค์นี้ จะประกอบด้วยการมีกลยุทธ์บูรณาการระยะยาว ที่เน้นการปรับปรุง
ประสิทธิภาพของที่ดิน และการฟื้นฟูการอนุรักษ์ และการจัดการที่ดิน และทรัพยากรน้ าอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ
กันในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะน าไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชุมชน
2.3 ควำมหมำย Land Degradation Neutrality: LDN
ความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) คือ แนวคิดใน
การด าเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 15.3 ตัวชี้วัดที่ 15.3.1 ซึ่งมีต้นก าเนิดมาจากการ
th
ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 12 (Conference of the Parties 12 Session : COP12) ณ เมือง
อังการา ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 12 – 25 ตุลาคม 2558 และผลจากการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ (COP12)
ท าให้เกิดมติที่ประชุมรัฐภาคีที่ 3 (Decision 3) โดยมีใจความส าคัญว่า ให้ประเทศสมาชิกบูรณาการความ
สมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (LDN) เข้ากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งผลให้ประเทศที่เป็นรัฐภาคี
มีพันธกรณีต้องน าแนวคิด LDN ไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามอนุสัญญาฯ
จากผลการประชุมคณะกรรมการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็น
ทะเลทราย ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมมีมติให้ใช้ชื่อภาษาไทยที่เห็นว่า
ครอบคลุมหลักการและวัตถุประสงค์ของ LDN คือ “ความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน”
(คณะกรรมการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย, 2559) ซึ่งเป็นการ
จัดท าเป้าหมายการดูแลฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดินไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้น ในการที่จะส าเร็จตาม
เป้าหมายที่ 15 ตัวชี้วัดที่ 15.3 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals -
SDG) มีค านิยามที่เกี่ยวข้อง ดังนี้