Page 35 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                              มันสําปะหลังสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์

               จะปลูกช่วงต้นฤดูฝน (เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม) และประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ปลูกในช่วงปลายฤดูฝน
               หรือในฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์) ส่วนที่เหลือจะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม

               การปลูกในช่วงต้นฤดูฝนให้ผลผลิตหัวสดสูงกว่าการปลูกในช่วงอื่นๆ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนยังไม่มากนักจึงมี
               เวลาเตรียมดินได้ดี ลดปัญหาวัชพืชรบกวน และมันสําปะหลังจะได้รับน้ำฝนตลอดระยะเวลาของการ

               เจริญเติบโต ถ้าปลูกช่วงปลายฤดูหรือในฤดูแล้ง หลังจากมันสําปะหลังงอกจะได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วง

               2-3 เดือน  ทําให้มันสําปะหลังชะงักการเจริญเติบโต แต่ข้อดีคือมีวัชพืชขึ้นรบกวนน้อย ถ้าเป็นดินทราย
               สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรมักนิยมปลูกปลายฤดูฝน เช่น ในพื้นที่จังหวัดระยองและชลบุรี ถ้าเป็น

               ดินเหนียวจะนิยมปลูกต้นฤดูฝน เพราะสามารถเตรียมดินได้ง่าย (กรมวิชาการเกษตร, 2559) พื้นที่การ
               เพาะปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญพบอยู่ใน 4 ภาคของประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               ภาคตะวันออกและภาคกลาง มีเนื้อที่ปลูกมันสำปะหลังรวมในเขตการเกษตรประมาณ ร้อยละ 88 ของเนื้อที่

               ปลูกของประเทศที่มีทั้งหมดประมาณ 10 ล้านไร่  โดยพื้นที่ปลูกจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คือ
               ประมาณร้อยละ 53 ของเนื้อที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศ (สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2552)

                               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2564) รายงานว่า  ในปี 2563/64 มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

               จำนวน 10,918,969 ไร่  ผลผลิตรวม 35,094,485 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 3,372 กิโลกรัมต่อไร่  โดยแหล่งเพาะปลูก
               มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา กำแพงเพชร ชัยภูมิ กาญจนบุรี และอุบลราชธานี

               ตามลำดับ พื้นที่ปลูกมากที่สุดอยู่ในภาคตะวันออกฉียงเหนือ 6,080,383 ไร่  ปริมาณผลผลิต 19,863,491 ตัน
               ผลผลิตเฉลี่ย 3,464 กิโลกรัมต่อไร่  มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และอุบลราชธานี

               รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ พื้นที่ปลูกจำนวน 2,687,567 ไร่ ปริมาณผลผลิต 8,166,770 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย

               3,148 กิโลกรัมต่อไร่ มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และในภาคกลาง
               2,151,019 ไร่ ปริมาณผลผลิต 7,064,224 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 3,399 กิโลกรัมต่อไร่  มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่

               จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี อุทัยธานี และฉะเชิงเทรา ตามลำดับ
                              สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานว่า ประเทศไทยมีผลผลิตมันสำปะหลังต่อพื้นที่

               เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 3.41 ตันต่อไร่ โดยหากเปรียบเทียบกับปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่กรมวิชาการ

               เกษตรได้ทำการปลูกและเก็บเกี่ยวตามวิธีการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานบนแปลงทดสอบของกรมวิชาการเกษตร
               ซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตที่ควรจะเป็นตามศักยภาพของดินและสภาพอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของประเทศ

               จะเห็นว่าผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่ได้จากการสำรวจมีแนวโน้มต่ำกว่าผลผลิตตามศักยภาพ ดังแสดงในตารางที่ 6

               โดยผลต่างระหว่างปริมาณผลผลิตเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริงกับปริมาณผลผลิตที่ควรจะเป็นมีค่าเป็นลบเกือบทุกพันธุ์
               ยกเว้นพันธุ์ระยอง 3 ที่มีผลต่างเป็นบวก








                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 31
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40