Page 32 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






               ใช้ได้ผลในเขตปลูกอ้อยโดยอาศัยน้ำฝนที่ดินเป็นดินทรายหรือร่วนปนทราย ที่สําคัญจะต้องมีปริมาณน้ำฝน

               1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีการกระจายตัวสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดู (กุมภาพันธ์ถึงเมษายน) จะต้อง
               มีปริมาณฝนที่พอเพียงกับการเจริญเติบโตของอ้อยในช่วงแรก อ้อยที่ปลูกในเขตนี้จะมีอายุไม่น้อยกว่า 12

               เดือน ในขณะตัดอ้อยเข้าโรงงาน ทําให้ได้ผลผลิตและคุณภาพความหวานสูงกว่าอ้อยที่ปลูกต้นฝน และมีปัญหา
               เรื่องวัชพืชรบกวนน้อย เพราะหน้าดินจะแห้งอยู่ตลอดเวลาในช่วงแรกของการเจริญเติบโตแต่ถ้าต้นฤดูมีฝนตก

               น้อยหรือตกล่าช้า อาจทําให้อ้อยเสียหายได้

                              สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (2564) สำรวจพื้นที่ปลูกอ้อยในปีการผลิต
               2564/65 โดยอาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมและการเก็บข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม  มีพื้นที่ปลูกอ้อย

               ทั่วประเทศ จำนวน 11,022,348 ไร่  เพิ่มขึ้นจำนวน 159,738ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.47 จากปีก่อนหน้า
               ปริมาณอ้อยทั้งหมด 105,944,354 ตัน  ให้ผลผลิตเฉลี่ย 9.66 ตันต่อไร่  โดยแบ่งเป็นสัดส่วนตามภูมิภาคพื้นที่

               การเพาะปลูกได้ดังนี้  พื้นที่ปลูกมากที่สุดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,661,795 ไร่ เพิ่มขึ้นจำนวน

               67,351 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.47 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 10.80 ตันต่อไร่ แหล่งปลูกสําคัญอยู่ในจังหวัดอุดรธานี
               ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ และกาฬสินธุ์ รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง 2,991,332 ไร่ เพิ่มขึ้นจำนวน

               52,013 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.77  ให้ผลผลิตเฉลี่ย 8.79 ตันต่อไร่ แหล่งปลูกสําคัญอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี

               ลพบุรี สุพรรณบุรี ภาคเหนือ 2,705,943 ไร่  เพิ่มขึ้นจำนวน 37,807 ไร่ หรือ  คิดเป็นร้อยละ 1.42 ให้ผลผลิต
               เฉลี่ย 8.41 ตันต่อไร่ แหล่งปลูกสําคัญอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์  และภาคตะวันออก

               663,278 ไร่  เพิ่มขึ้นจำนวน 2,567 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.39 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 9.97 ตันต่อไร่ แหล่งปลูก
               สําคัญอยู่ในจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี  ด้านคุณภาพความหวานของอ้อย หรือ ค่าซีซีเอส (Commercial Cane

               Sugar, C.C.S)  อยู่ที่ 12.71 ซี.ซี.เอส. เมื่อเปรียบเทียบกับปีการผลิต 2563/64 พบว่า คุณภาพความหวานของ

               อ้อยลดลง 0.20 ซี.ซี.เอส. คิดเป็นร้อยละ 1.55 ส่วนพื้นที่อ้อยส่งโรงงานมีจำนวน 9,531,690 ไร่  โดยปริมาณ
               อ้อยส่งเข้าโรงงานทั้งประเทศอยู่ที่ 92,032,142.60 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีการผลิต 2563/64 พบว่า

               ปริมาณอ้อยส่งเข้าโรงงานเพิ่มขึ้น 25,373,330.340 ตัน คิดเป็นร้อยละ 38.06 สามารถผลิตเป็นน้ำตาลทราย
               ได้ 10,130,051 ตัน


                              สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและความต้องการของอ้อย (Crop Requirement)
                               1) สภาพพื้นที่

                                  - ที่ลุ่มไม่มีน้ำขัง หรือมีน้ำขังในช่วงฤดูฝน ควรเลือกใช้พันธุ์ที่ทนต่อสภาพแช่ขังน้ำได้ดี

                                  - ที่ราบมีการระบายน้ำดี สามารถใช้ได้ทุกพันธุ์
                                  - ที่ดอน ควรเลือกพันธุ์ที่ไม่ชอบน้ำแช่ขัง แต่มีความทนแล้งได้ดี

                                  - ความสูงจากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 1,500 เมตร
                                  - ความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์

                              2) ลักษณะดิน

                                  - ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างต้องไม่เป็นดินลูกรังหรือหิน

                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 28
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37