Page 30 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
















               อ้อย (Sugarcane)

                         ลักษณะทั่วไป


                               อ้อย มีชื่อสามัญว่า sugar cane จัดอยู่ในวงศ์ Gramineae และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
               Saccharum officinarum  โดยเป็นพืชเขตร้อนชื้น (tropical)  มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในนิวกินี ซึ่งเป็นเกาะ

               ใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก (เฉลิมพล, 2547)  มีลักษณะภายนอกประกอบด้วย ลำต้นที่มีข้อและปล้องชัดเจน
               มีใบเกิดสลับข้างกัน และมีส่วนกาบใบหุ้มลำต้นไว้ โดยกาบใบและใบจะมีไขและขนอยู่ด้วย รากอ้อยเป็นระบบ

               รากฝอยแต่แข็งแรงสามารถหยั่งลงไปในดินได้ลึก ลำต้นอ้อยสามารถแตกหน่อได้จากตาของข้อล่างๆ ที่อยู่ชิด

               ดิน  อ้อยเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้วสามารถเก็บเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง อ้อยเป็นพืชชอบ
               อากาศร้อน และชุ่มชื้น เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน มีปริมาณน้ำฝนและแสงแดดเพียงพอ  มีความสําคัญต่อ

               มนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหาร นอกจากนั้นอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศไทย เป็นวัตถุดิบ

               สําหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลเป็นการผลิตเพื่อส่งออกต่างประเทศประมาณร้อยละ 70
               ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือใช้ในประเทศ และยังจัดเป็นพืชเกษตรอุตสาหกรรมที่สามารถนํามาเป็นวัตถุดิบ

               ตั้งต้นในผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องได้ทุกส่วน รวมถึงผลพลอยได้ เช่น น้ำอ้อยผลิตเป็นน้ำตาลทราย และผลิตเอทานอล

               กากน้ำตาล (Molasses) นําไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ เหล้า ผงชูรส และเอทานอล กากอ้อย (Bagasse) ใช้ผลิต
               เป็นพลังงานไฟฟ้า ทําเยื่อกระดาษ แผ่นพาร์ติเคิลบอร์ด พลาสติก ปุ๋ยอินทรีย์กากตะกอนหม้อกรอง (Filter

               cake) ใช้ผลิตปุ๋ยหมักและยังเกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องเช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เครื่องสําอาง สุรา อาหาร
               สําเร็จรูป กรดน้ำส้ม และอุตสาหกรรมเอทานอล (กรมวิชาการเกษตร ,2558)

                              การปลูกอ้อยมีอยู่ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ทั้งนี้พราะสภาพอากาศภาคใต้ไม่เหมาะแก่การปลูก

               กล่าวคือมีฝนตกชุกและมีอากาศร้อนตลอดปี ซึ่งสภาพดังกล่าวทําให้อ้อยไม่หวาน นอกจากนี้ อาจจะเป็น
               เพราะว่าภาคใต้มีพืชอื่นที่ให้ผลดีกว่า เช่น ยางพารา และกาแฟ เป็นต้น เขตการปลูกอ้อยแบ่งออกเป็น 4 ภาค

               คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางแต่ละภาคจะมีพื้นที่และศักยภาพการ
               ผลิตที่ต่างกัน  ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ในเขต

               อาศัยน้ำฝน ทั้งที่มีและไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ เกษตรกรควรเลือกพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของ

               ตนเอง และเลือกใช้อ้อยอย่างน้อย 2-3 พันธุ์ โดยเลือกพันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น อายุปานกลาง และอายุยาว
               เพื่อวางแผนเก็บเกี่ยวอ้อยแต่ละพันธุ์ส่งโรงงานในช่วงต้นฤดูหีบ กลางฤดูหีบ และปลายฤดูหีบ พันธุ์อ้อยที่

               เลือกใช้ นอกจากให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพความหวานมากกว่า 10 ซีซีเอส แล้วควรเป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อ

                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 26
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35