Page 34 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
















               มันสำปะหลัง (Cassava)


                         ลักษณะทั่วไป

                              มันสำปะหลังจัดเป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง มีชื่อสามัญเรียกหลายชื่อตามภาษาต่าง ๆ ที่ได้ยินกัน
               มาก ได้แก่ Cassava, Yuca, Mandioa, Manioc, Tapioca  มีชื่อวิทยาศาสตร์ Manihot esculenta (L.)

               Crantz   มันสำปะหลังมีแหล่งกำเนิดแถบที่ลุ่มเขตร้อน (Lowland tropics) มีหลักฐานแสดงว่าปลูกกันใน

               โคลัมเบีย และเวเนซูเอลา มานานกว่า 3,000-7,000 ปีมาแล้ว  มันสำปะหลังเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นตั้ง
               ตรง เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-5 เมตร มีการแตกกิ่ง กิ่งที่แตกจากลำต้นหลักเรียกว่า

               "กิ่งชุดแรก" ส่วนกิ่งที่แตกจากกิ่งชุดแรกเรียกว่า "กิ่งชุดที่สอง" ต้นมันสำปะหลังจะแตกกิ่งเป็นแบบ 2 กิ่ง หรือ
               3 กิ่ง ตามลำต้นจะเห็นรอยก้านใบที่หลุดร่วงไปเรียกว่า "รอยแผลใบ" และในระหว่างแผลใบจะเรียกว่า "ความ

               ยาวของชั้น" ส่วนที่อยู่เหนือรอยแผลใบ มีตา ทุกส่วนของต้นเมื่อนำมาสับจะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมา

               มันสำปะหลัง มีราก 2 ชนิด คือ รากจริงเป็นแบบรากฝอย และรากสะสมอาหาร เป็นแท่งหนาอยู่ใต้ดิน มีประมาณ
               5-10 รากต่อต้น เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน รากจะค่อยๆ สะสมแป้ง  ทำให้รากมีขนาดโตขึ้น เรียกว่า หัว

                              ชนิดของมันสําปะหลัง  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

                                  1) ชนิดหวาน (Sweet Type) เป็นมันสำปะหลังที่มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคตํ่า ไม่มี
               รสขม ใช้เพื่อการบริโภค สามารถใช้หัวสดทำอาหารได้โดยตรง เช่น นำไปนึ่ง เชื่อมหรือทอด มีทั้งชนิดเนื้อร่วน

               นุ่ม และชนิดเนื้อแน่นเหนียว  ในประเทศไทยไม่มีการปลูกเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ เนื่องจากตลาดมีจำกัด  ได้แก่
               พันธุ์ห้านาที  ระยอง 2  เป็นต้น

                                  2) ชนิดขม (Bitter Type) เป็นมันสำปะหลังที่มีรสขม ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของ

               มนุษย์หรือใช้หัวสดเลี้ยงสัตว์ โดยตรง เนื่องจากมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูง มีความเป็นพิษต่อร่างกายต้อง
               นำไปแปรรูปเป็นมันอัดเม็ดหรือมันเส้นจึงนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 1, ระยอง 3, ระยอง 5, ระยอง

               60, ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50
                              สําหรับมันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นชนิดขม เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม โดย

               พันธุ์ที่ปลูกกันมาก คือ พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพันธุ์ที่มีการนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ต่อมา

               กรมวิชาการเกษตรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการวิจัยปรับปรุงพันธุ์เพื่อการอุตสาหกรรมที่ได้รับการ
               รับรองเป็นพันธุ์แนะนำ จำนวน 8 พันธุ์  ได้แก่ พันธุ์ระยอง 1, ระยอง 3, ระยอง 5, ระยอง 7, ระยอง 9, ระยอง

               60, ระยอง 72, ระยอง 90, เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60

                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 30
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39