Page 39 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
















               สับปะรด (Pineapple)


                         ลักษณะทั่วไป
                              สับปะรด มีชื่อสามัญว่า Pineapple และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ananas comosus (L.) Merr.

               จัดอยู่ในวงศ์ BROMELIACEAE  สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปี สามารถทนต่อ

               สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี  สับปะรดจะออกดอกที่ส่วนยอดของลำต้น และเมื่อช่อดอกเจริญเป็นผลแล้ว ตาที่
               ลำต้นจะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก หน่อ หรือต้นใหม่ที่เกิดสามารถออกผลได้เช่นเดียวกับต้นแม่

                              สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พวกที่มีระบบราก
               หาอาหารอยู่ในดิน หรือ เรียกว่าไม้ดิน พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่

               ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับ และพวกที่เจริญเติบโตบนผาหิน

               หรือโขดหิน ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ
               สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อย มีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้

               (จินดารัฐ, 2541)  ใบสับปะรดมีลักษณะแคบ เรียวยาว และเป็นร่องโค้งลักษณะร่องโค้งช่วยให้สับปะรดมีความ
               แข็งแรงและทนทานต่อการหักพับได้ดีเป็นพิเศษ การเรียงตัวของใบเป็นแบบเวียนรอบลำต้น มีรอบการเรียงตัว

               (phyllotaxy) เท่ากับ 5/13 หรือจำนวนใบที่เกิดเวียนรอบลำต้นไปได้ 5 รอบ จะมีจำนวนใบเท่ากับ 13 ใบ

               และใบที่ 14 จะเกิดตรงกับตำแหน่งของใบที่ 1 ลักษณะของใบที่เรียวยาวเป็นร่องโค้งและเรียงตัวเวียนรอบ
               ลำต้นสับปะรด ซึ่งมีความสำคัญในการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำน้อย เมื่อละอองฝนหรือน้ำค้างที่ตกลง

               มาสัมผัสกับพุ่มใบจะถูกรวบรวมมาไว้ที่ส่วนโคนต้นให้รากในดินหรือรากตามมุมใบใช้ประโยชน์ได้ (สถาบันวิจัย

               พืชสวน, 2560)
                              พันธุ์สับปะรดที่ปลูกทั่วโลกมีหลายชนิด แต่ละชนิดหรือแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะเด่นเฉพาะ

               ตัวแตกต่างกันไป  สมบัติ และคณะ (2539) ได้รวบรวมและศึกษาพันธุ์สับปะรดทั้งจากภายในและต่างประเทศ

               โดยนำมาปลูกและศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ในด้านต่างๆ ที่ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต
               เพชรบุรี ปัจจุบันคือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี โดยเป็นพันธุ์สับปะรดภายในประเทศ 10 พันธุ์

               และพันธุ์จากต่างประเทศ 12 พันธุ์ ลักษณะประจำพันธุ์เบื้องต้นของสับปะรดพันธุ์ต่างๆ ในแต่ละกลุ่มพันธุ์
               ยึดเกณฑ์มาตรฐานของ IBPGR (1991) สามารถจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่มพันธุ์ คือ กลุ่ม Smooth cayenne มี

               3 พันธุ์/สายพันธุ์ คือ ปัตตาเวีย นางแล ลักกะตา กลุ่ม Queen มี 5 พันธุ์/สายพันธุ์ คือ ตราดสีทอง ภูเก็ต สวี

               ปัตตานี สิงคโปร์ปัตตาเวีย และกลุ่ม Spanish มี 2 พันธุ์/สายพันธุ์ คือ อินทรชิตแดง อินทรชิตขาว

                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 35
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44