Page 31 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






               โรคหรือแมลงที่มีการระบาดมากในแต่ละท้องถิ่น เช่น เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคแส้ด้า โรค

               กอตะไคร้ และต้านทานต่อแมลงศัตรูอ้อยชนิดต่างๆ พันธุ์อ้อยที่ดี ควรเป็นพันธุ์ที่มีความสามารถในการไว้ตอได้
               ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และมีผลผลิตลดลงจากอ้อยปลูกไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์

                              พันธุ์อ้อยที่เกษตรกรใช้ปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงานน้ำตาลในปัจจุบันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
               เป็นพันธุ์อ้อยที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ที่หน่วยงานภายในประเทศเป็นผู้ดำเนินการ อาทิ สำนักงาน

               คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์วิจัยอ้อยของ

               บางโรงงานน้ำตาล  พันธุ์อ้อยที่นิยมใช้ปลูกส่วนใหญ่มีความสูงตั้งแต่ 2.5 เมตรขึ้นไป ลำต้นตั้งตรงไม่หักล้ม
               ลอกกาบง่าย ทนแล้ง อายุเก็บเกี่ยว 10-13 เดือน ให้ผลผลิตสูงกว่า 13 ตัน/ไร่ ความหวาน 11 ซีซีเอสขึ้นไป

               พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมสำหรับแหล่งปลูกต่างๆ จากการแนะนำของทางราชการมีดังนี้
                                1) พันธุ์อ้อยที่สามารถใช้ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทยในปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 8 พันธุ์

               ได้แก่  พันธุ์ เค84-200  เค88-92  เค95-84  แอลเค92-11  เค2000-89 ซึ่งเป็นพันธุ์อ้อยของสำนักงาน

               คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และพันธุ์ขอนแก่น 3 อู่ทอง 3 อู่ทอง 13 เป็นพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร
                                2) พันธุ์อ้อยที่เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคกลางและภาคเหนือ ได้แก่ พันธุ์ เค76-4

               เค90-77 แอลเค92-14 ซึ่งเป็นพันธุ์ของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พันธุ์อู่ทอง 9 อู่ทอง 10

               อู่ทอง 11 อู่ทอง 12 เป็นพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร และ เคพีเค 98-40 เคพีเค 98-51 เป็นพันธุ์อ้อยลูกผสม
               ของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล

                                3) พันธุ์อ้อยที่เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ พันธุ์ เค95-84
               เป็นพันธุ์ของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และพันธุ์อู่ทอง 4 อู่ทอง 8 สุพรรณบุรี 80

               ขอนแก่น 80 เป็นพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร (เกษสุดา, 2561)

                              การปลูกอ้อยสามารถแบ่งตามฤดูปลูกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ (สถาบันวิจัยพืชไร่, 2547)
                                1) อ้อยต้นฝน แบ่งเป็น 2 เขต ได้แก่ (1) อ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน ปลูกในช่วงเดือน

               กุมภาพันธ์ถึงเมษายน และ (2) อ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝน ปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน โดยพื้นที่
               ปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทานส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพใน

               การให้ผลผลิตอ้อยสูง วิธีการให้น้ำสามารถทําได้โดยให้น้ำตามร่องหลังจากวางลําปลูกแล้วใช้ดินกลบเพื่อรักษา

               ความชื้นในดิน หรือที่เรียกว่า “อ้อยน้ำราด” ช่วยให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตได้ในระยะสั้นก่อนเข้าสู่ฤดูฝน
               หรือสามารถทําได้โดยใช้เครื่องปลูกที่มีการหยอดน้ำทําให้อ้อยงอกได้ดีและอยู่รอดจนถึงฤดูฝนได้เรียกระบบนี้

               ว่า “อ้อยน้ำหยอด” อ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน หากมีการจัดการที่ดีจะได้ผลผลิตอ้อยไม่ต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่

               ส่วนอ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝนจะครอบคลุมพื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยที่มี
               ความแปรปรวนในเรื่องผลผลิตสูง เนื่องจากปริมาณและการกระจายตัวของฝนไม่สม่ำเสมอ และดินมีความ

               อุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงทําให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำกว่า 10 ตันต่อไร่

                                2) อ้อยปลายฝนหรืออ้อยข้ามแล้ง เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นในดินช่วงปลาย
               ฤดูฝน เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้าๆ ไปจนกว่าอ้อยจะได้รับน้ำฝนต้นฤดู เป็นการปลูกอ้อยที่


                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 27
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36