Page 40 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                              ลักษณะสำคัญของสับปะรดแต่ละกลุ่ม

                              1. กลุ่ม Smooth cayenne พันธุ์สับปะรดกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่นิยมปลูกมากที่สุด ทั้งเพื่อใช้
               บริโภคสดและใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง พันธุ์สับปะรดในกลุ่มนี้ผลมีขนาดประมาณ

               1.0 - 2.5 กิโลกรัม รูปร่างค่อนข้างเป็นทรงกระบอก เนื้อมีสีเหลือง มีเยื่อใย (fiber) ซึ่งพันธุ์สับปะรดในกลุ่ม
               Smooth cayenne ในประเทศไทยคือ พันธุ์ปัตตาเวีย นางแล ลักกะตา น้ำผึ้ง และโนห์รา โดยพันธุ์ที่สำคัญใน

               อุตสาหกรรมแปรรูปของไทยคือ พันธุ์ปัตตาเวีย เนื่องจากผลจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ด้าน

               คุณภาพผล เนื้อมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
                              2. กลุ่ม Queen สับปะรดกลุ่ม Queen มีขนาดของต้นและผลเล็กกว่ากลุ่ม smooth

               cayenne ขอบใบมีหนามเรียงชิดติดกันตลอดความยาวใบ น้ำหนักผลประมาณ 1.0 กิโลกรัม รูปร่าง
               ทรงกระบอก ตาค่อนข้างนูน เปลือกหนา เนื้อมีสีเหลืองเข้มและกรอบ รสชาติหวาน มีเยื่อใยน้อยและมีกลิ่นหอม

               แกนผลอ่อนนุ่มกว่า พันธุ์ปัตตาเวีย สับปะรดกลุ่มนี้ในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์ภูเก็ต (จังหวัดเชียงราย เรียกว่า

               พันธุ์ภูแล) พันธุ์สวี พันธุ์ตราดสีทอง พันธุ์ปัตตานี และพันธุ์สิงคโปร์ปัตตาเวีย
                              3. กลุ่ม Spanish สับปะรดกลุ่ม Spanish มีขนาดของต้นและผลอยู่ระหว่างกลางของกลุ่ม

               Smooth cayenne และกลุ่ม Queen ขอบใบมีหนามแหลมรูปโค้งงอ ผลมีรูปร่างกลม น้ำหนักผล 1.0-1.5

               กิโลกรัม ตานูน ขนาดของตาใหญ่กว่ากลุ่ม Smooth cayenne เนื้อสีเหลืองจาง มีเยื่อใยมาก แกนผลเหนียว
               กลิ่นและรสชาติแตกต่างจาก 2 กลุ่มแรก มีรสชาติเปรี้ยว พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์อินทรชิตแดง

               และพันธุ์อินทรชิตขาว ในปัจจุบันมีการปลูกน้อยมาก โดยสับปะรดโรงงานพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมาก ได้แก่
               พันธุ์ปัตตาเวีย นิยมปลูกในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และพันธุ์ตราดสีทอง นิยมปลูกมากในภาคตะวันออก

               (สถาบันวิจัยพืชสวน, 2560)

                              การศึกษาจำนวนต้นปลูกต่อไร่ของสับปะรด ชมภูและคณะ (2553) ได้ศึกษาจำนวนต้นปลูก
               ต่อไร่ ของสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย พบว่า การปลูก 12,000 ต้นต่อไร่ มีปริมาณผลผลิต 11,940 กิโลกรัมต่อไร่

               มากกว่าจำนวนต้นปลูก 10,500 9,000 และ 7,500 ต้นต่อไร่  ซึ่งให้ผลผลิต 10,844  9,532 และ 7,936
               กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนสับปะรดบริโภคสดพันธุ์ตราดสีทอง พบว่า การปลูกจำนวนต้นต่อไร่ต่างกันทำให้

               ได้ปริมาณผลผลิตแตกต่างกันทางสถิติ โดยการปลูก 7,500 ต้นต่อไร่  มีปริมาณผลผลิต 6,866 กิโลกรัมต่อไร่

               มากกว่าการปลูก 6,500 5,500 และ 4,500 ต้นต่อไร่  ให้ผลผลิต 6,139 5,476 และ 4,304 กิโลกรัมต่อไร่
               ตามลำดับ ส่วนพันธุ์สวี การปลูก 7,500 ต้นต่อไร่  ให้ผลผลิต 5,755 กิโลกรัมต่อไร่  มากกว่าจำนวนต้นปลูก

               6,500 5,500 และ 4,500 ต้นต่อไร่  มีปริมาณผลผลิต 4,934 4,202 และ 3,369 กิโลกรัมต่อไร่  ตามลำดับ

               การปลูกต้องเลือกจำนวนต้นปลูกต่อไร่ที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นกับวัตถุประสงค์การปลูกว่าจะปลูกเพื่อขายผลสดหรือ
               ปลูกเพื่อส่งโรงงาน ถ้าปลูกเพื่อส่งโรงงานและปลูกจำนวนต้นต่อไร่น้อย เช่น 4,000 - 5,000 ต้นต่อไร่ จะไม่

               คุ้มค่ากับการลงทุน ควรปลูก 8,000 - 10,000 ต้นต่อไร่  ได้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า และมีขนาดผลเหมาะสมตามที่

               โรงงานต้องการ




                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 36
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45