Page 33 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                  - ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกอ้อยควรมีระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

               พีเอชดิน ระหว่าง 5.5-7.0 ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.5 มีการระบายน้ำ
               และถ่ายเทอากาศดี ค่าการนำไฟฟ้า (ECe) หรือความเค็มไม่เกิน 4 ds/m

                              3) สภาพภูมิอากาศ
                                  - อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของอ้อย 30-35 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิ

               กลางคืน 18-20 องศาเซลเซียส ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 2 เดือน ต้องการอากาศเย็นเพื่อสะสมน้ำตาล

               ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงอ้อยจะคายน้ำมาก ความต้องการน้ำจะมากตามไปด้วย จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยขึ้น ในช่วงที่
               มีฝนตกควรงดให้น้ำ และหาทางระบายน้ำแทน

                                  - ถ้าความชื้นในดินมากเกินไปตาอ้อยจะเน่า ถ้าความชื้นในดินน้อยเกินไปตาอ้อยจะ
               ไม่งอก หรือถ้างอกแล้วก็อาจจะเหี่ยวเฉาและตายไป  โดยทั่วไปถ้าในดินมีอากาศอยู่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์

               รากอ้อยจะชะงักการดูดธาตุอาหาร น้ำ และออกซิเจน เป็นเหตุให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโต

                                  - อ้อยต้องการปริมาณน้ำฝน 1,200-1,500 มิลลิเมตรต่อปี มีกระจายสม่ำเสมอในช่วง
               อ้อยมีอายุ 1-8 เดือน และมีช่วงปลอดฝน 2 เดือนก่อนการเก็บเกี่ยว ตลอดฤดูปลูกต้องการน้ำ 1,515 มิลลิเมตร


               ตารางที่ 5  ความเหมาะสมของพื้นที่และคุณสมบัติของดินที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย

                                                                     เหมาะสม          เหมาะสม       ไม่
                       คุณสมบัติของพื้นที่       เหมาะสมสูง
                                                                     ปานกลาง          เล็กน้อย   เหมาะสม

                 ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก (°C)    24-27              28-31           32-35       >35
                                                                       19-23           15-18       <15
                 ปริมาณน้ำฝนต่อปี (mm)           1,600 -2,500       1,200-1,600      900-1,200     <900
                                                                    2,500-3,000      3,000-4,000   >4,000

                 สภาพการระบายน้ำของดิน        - ระบายน้ำมากเกินไป  - ระบายน้ำค่อนข้างเลว   ระบายน้ำ   ระบายน้ำ
                                              - ระบายน้ำดี      - ระบายน้ำดีปานกลาง     เลว       เลวมาก
                 ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร

                                      -1
                  -  CEC ดินล่าง (cmol kg )         >15                5-15             <5          -
                  -  BS ดินล่าง (%)                 >35                <35               -          -
                 ความลึกของดิน (cm)                 >100              50-100           25-50       <25

                 ปริมาณกรวดหรือเศษหินที่พบ (%)      <15                15-40           40-80       >80
                 ค่าการนำไฟฟ้าขณะดินอิ่มตัวด้วยน้ำ   <2                 2-3             3-5         >5
                 หรือความเค็มของดิน (dS m )
                                     -1
                 ระดับความลึกของชั้นจาโรไซต์ (cm)   > 150            100 -150         50-100       <50
                 ค่าพีเอชดินในสภาวะน้ำแช่ขัง (pH)   5.6-7.3           7.4-7.8          7.9-8.4     >8.4
                                                                      4.5-5.5          4.0-4.5     <4.0


               ที่มา : ดัดแปลงจากบัณฑิตและคำรณ (2542)


                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 29
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38