Page 27 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                              ในแต่ละปีการผลิต เกษตรกรจะทำการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 2 ครั้ง ข้าวโพด

               รุ่นแรก เริ่มปลูกในช่วงฤดูฝน ประมาณช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนสิงหาคม-
               พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ยังคงมีฝนตกมาก ทำให้ผลผลิตข้าวโพดมีความชื้นสูง อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด

               เชื้อราและสารอะฟลาท็อกซิน การเพาะปลูกข้าวโพดรุ่น 2 ประมาณช่วงฤดูแล้ง แต่ข้าวโพดรุ่นนี้จะมีปริมาณ
               ผลผลิตไม่มาก การเพาะปลูกจะเริ่มในเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของปีถัดไป

               ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคต่างๆ โดยใช้

               บริโภคภายในประเทศและเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ 90 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต และใช้ใน
               อุตสาหกรรมแป้ง 10 เปอร์เซ็นต์

                              สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2564) รายงานว่า  ในปี 2563/64  มีพื้นที่ปลูกข้าวโพด
               เลี้ยงสัตว์ 7,088,945 ไร่ ผลผลิตทั้ง 2 รุ่นรวม 4,995,169 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 713 กิโลกรัมต่อไร่  โดยพื้นที่ปลูก

               มากที่สุดอยู่ในภาคเหนือ 4,880,951  ไร่ ปริมาณผลผลิต 3,440,064 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 712 กิโลกรัมต่อไร่

               มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์  น่าน ตาก  นครสวรรค์ เชียงราย และพิษณุโลก รองลงมา ได้แก่
               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ปลูกจำนวน 1,284,169 ไร่ ปริมาณผลผลิต 900,504 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 712

               กิโลกรัมต่อไร่ มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่จังหวัดนครราชสีมา เลย ชัยภูมิ และในภาคกลาง 923,825 ไร่  ปริมาณ

               ผลผลิต 654,601 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 719 กิโลกรัมต่อไร่  มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่จังหวัดลพบุรี สระบุรี และ
               อุทัยธานี ตามลำดับ

                         สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและความต้องการของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Crop Requirement)

                              1) สภาพพื้นที่

                                  - พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง

                                  - ความสูงจากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 1,000 เมตร
                                  - ความลาดเอียงไม่เกิน 5%

                              2) ลักษณะดิน

                                  - เป็นดินร่วน  ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทรายหรือดินเหนียว ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
               ปานกลางถึงสูง  มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.0 ดินโปร่งร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ระดับหน้าดินลึกไม่น้อย

               กว่า 25 เซนติเมตร เจริญเติบโตได้ดีในสภาพความลึกของหน้าดินประมาณ 60 เซนติเมตร

                                  - พีเอชดิน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถเจริญได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นกรดจัดถึงดินที่มี
               ลักษณะเป็นด่างอ่อนๆ ถ้ามีการให้ธาตุอาหารเสริมอย่างเพียงพอ ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกข้าวโพดควรมี

               พีเอช ระหว่าง 5.5-8 และจะให้ผลผลิตที่ดีในช่วงพีเอช 6-7 ในดินที่มีพีเอช 5 หรือต่ำกว่าจะทำให้เกิดความ

               เป็นพิษของธาตุอลูมินั่ม (Al) แมงกานีส (Mn) และ เหล็ก (Fe)  ในดินที่มีพีเอชสูง (มากกว่า 7) จะทำให้
               ธาตุฟอสฟอรัส (P) สังกะสี (Zn) และเหล็ก (Fe) ที่เป็นประโยชน์ต่อข้าวโพดลดลง ข้าวโพดจึงอาจแสดงอาการ

               ขาดธาตุ



                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 23
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32