Page 26 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

















               ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Maize)


                         ลักษณะทั่วไป

                              ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  มีชื่อสามัญว่า Maize หรือ Corn และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea mays L.

               จัดอยู่ในวงศ์ Gramineae  มีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแบบพืช C4 (ราเชนทร์, 2539) ปลูกได้ทั่วไปใน
               เขตภูมิอากาศอบอุ่น เขตกึ่งร้อนชื้น และพื้นที่ราบเขตร้อน (คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา, 2547)  ข้าวโพดมี

               ลำต้นแข็ง ไส้แน่นไม่กลวงเหมือนพืชอื่น ความสูงของลำต้นมีตั้งแต่ 60 เซนติเมตร จนถึง 6 เมตร แล้วแต่ชนิด

               ของพันธุ์ ข้อของข้าวโพดนอกจากเป็นข้อต่อของปล้องแล้วยังเป็นที่เกิดของราก ลำต้นใหม่และฝักอีกด้วย
               ใบ ประกอบด้วย ตัวใบ กาบใบ และหูใบ (ligule) ลักษณะของใบข้าวโพดก็มีความแตกต่างกันไปมากมาย

               แล้วแต่พันธุ์ จำนวนใบมีตั้งแต่ 8-48 ใบ ข้าวโพดมีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่แยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน

               (monoecious) ดอกตัวผู้รวมกันอยู่เป็นช่อ เรียกว่าช่อดอกตัวผู้ (tassel) และอยู่ตอนบนสุดของต้น เกษตรกร
               มักจะเรียก “ดอกหัว” ข้าวโพดเป็นพืชที่ดอกตัวผู้สลัดเกสรก่อนที่ดอกตัวเมียพร้อมที่จะผสมเล็กน้อย ดังนั้น

               จึงเป็นพืชที่ผสมข้ามพันธุ์ตามธรรมชาติ โดยมีการผสมตัวเองเพียงเล็กน้อย ละอองเกสรของข้าวโพดจะปลิว

               ตามกระแสลม หรือตามแรงดึงดูดของโลก (พิเชษฐ และสุรพงษ์, 2546)
                              พันธุ์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่นิยมปลูก มี 2 ชนิด ได้แก่ พันธุ์ผสมเปิด และพันธุ์ลูกผสม โดย

               พันธุ์ผสมเปิดจะมีลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ำเสมอแต่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง และเมล็ดพันธุ์มีราคาถูกกว่า
               พันธุ์ลูกผสม โดยพันธุ์ผสมเปิดที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์สุวรรณ 5 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพันธุ์

               นครสวรรค์ 1 ของกรมวิชาการเกษตร  ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสม

               ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากมีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูง
               ของฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกดอก อายุเก็บเกี่ยว และคุณภาพผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด จึงเป็นพันธุ์ที่

               ต้องการของตลาด แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้และเมล็ดพันธุ์มีราคาแพง  พันธุ์ลูกผสม
               ที่ผลิตโดยหน่วยงานราชการ ได้แก่พันธุ์ นครสวรรค์ 2 ของกรมวิชาการเกษตร  และ พันธุ์สุวรรณ 385 ของ

               มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  สำหรับพันธุ์ลูกผสมที่ผลิตโดยภาคเอกชน ได้แก่ ซีพี 888 ซีพี 989 ซีพี 9988

               ซีพี 9747 ซีพี QQQ ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด พันธุ์ดีเค 919 ดีเค 959 ดีเค ของบริษัท
               มอนซานโตเมล็ดพันธุ์ จำกัด พันธุ์แปซิฟิค 999 แปซิฟิค 984 แปซิฟิค 555 และ แปซิฟิค 224 ของบริษัท

               แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด เป็นต้น (สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร, 2551)



                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 22
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31