Page 33 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               26






                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  สับปะรด สับปะรดไร่ม่วงเมืองเลย จังหวัดเลย ชูความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว “หอม
                       หวาน ฉ่ำ กรอบ ไม่กัดลิ้น” ขณะนี้ยังไม่มีปัญหาปริมาณผลผลิตล้นตลาด หรือราคาผลผลิตตกต่ำ เพื่อ
                       เพิ่มมูลค่าผลผลิตสับปะรดไร่ม่วงให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมอาชีพการปลูกสับปะรดไร่ม่วง

                       ของเกษตรกรให้เป็นอาชีพหลักที่ยั่งยืน การแก้ไขปัญหาความยากจนในชุมชน ส่งเสริมให้เกษตรกร
                       ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปลูกฝังจิตสำนึกของเด็ก เยาวชน และประชาชน
                       ในการรักษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดไร่ม่วงให้เป็นที่รู้จักกัน
                       อย่างแพร่หลาย สับปะรดไร่ม่วงถือเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของตำบลน้ำหมาน ในปัจจุบัน

                       เป็นที่นิยมของผู้บริโภค องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมานได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้
                       ส่งเสริมให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์โอท็อป (OTOP) โดยได้รับการคัดสรรเป็นสุดยอด
                       หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในระดับ 4 ดาว ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกสับปะรดไร่ม่วงยึดเป็นอาชีพหลัก

                       และอาชีพเสริม จำนวน 124 ราย มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น จำนวน 1,144 ไร่ คาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาด
                       ประมาณ 70,257 ตัน เฉลี่ย 4 ตันต่อไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
                       ประมาณร้อยละ 64 – 85 สับปะรดของจังหวัดเลยแบ่งออกเป็นสับปะรดบริโภคสด และสับปะรด
                       โรงงาน โดยสับปะรดบริโภคสดปลูกมากที่บ้านไร่ม่วง ตำบลน้ำหมาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
                       ได้รับการรับรองมาตรฐาน Loei the best ส่วนสับปะรดโรงงานปลูกมากในเขตพื้นที่อำเภอนาแห้ว

                       อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ และอำเภอท่าลี่ ขายส่งแบบสับปะรดโรงงาน 80 เปอร์เซ็นต์ (ตัดก้านตัดจุก)
                       และอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ขายแบบบริโภคผลสด โดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อจากเกษตรกรที่รวบรวม
                       จากกลุ่มผู้ปลูกสับปะรด เพื่อนำไปขายส่งให้กับพ่อค้าต่างจังหวัด ต่างอำเภอ และลานรวบรวมผลผลิต

                       ส่งพ่อค้าตามคำสั่งซื้อ เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานแปรรูปสับปะรดในจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัด
                       พิษณุโลก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดระยอง (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 2562)
                           สำหรับการเพิ่มพื้นที่ปลูกสับปะรดในจังหวัดเลยนั้น มีพื้นที่มีศักยภาพคงเหลือในการปลูก
                       สับปะรด 2,752,201 ไร่ เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ในการส่งเสริมการปลูกสับปะรดควรส่งเสริมในพื้นที่

                       เหมาะสมสูง (S1) ซึ่งมีพื้นที่ที่มีศักยภาพ คงเหลือ จำนวน 548,729 ไร่ พบมากในอำเภอวังสะพุง
                       (159,258 ไร่) อำเภอเมืองเลย (121,961 ไร่) อำเภอเชียงคาน (65,919 ไร่) อำเภอเอราวัณ (61,374 ไร่)
                       อำเภอปากชม (34,644 ไร่) อำเภอผาขาว (31,971 ไร่) อำเภอนาด้วง (24,012 ไร่) อำเภอท่าลี่
                       (22,723 ไร่) อำเภอหนองหิน (9,583 ไร่) อำเภอภูหลวง (5,485 ไร่) อำเภอภูเรือ (4,432 ไร่)

                       อำเภอด่านซ้าย (4,063 ไร่) และอำเภอภูกระดึง (3,304 ไร่) ตามลำดับ และในพื้นที่เหมาะสมปานกลาง
                       (S2) ซึ่งมีพื้นที่ที่มีศักยภาพ คงเหลือ จำนวน 1,117,599 ไร่ พบมากในอำเภอเมืองเลย (211,170 ไร่)
                       อำเภอวังสะพุง (145,751 ไร่) อำเภอผาขาว (101,929 ไร่) อำเภอนาด้วง (96,600 ไร่) อำเภอเชียงคาน
                       (89,290 ไร่) อำเภอเอราวัณ (76,259 ไร่) อำเภอปากชม (76,148 ไร่) อำเภอท่าลี่ (62,164 ไร่)

                       อำเภอภูหลวง (59,482 ไร่) อำเภอด่านซ้าย (57,710 ไร่) อำเภอหนองหิน (52,370 ไร่) อำเภอภูเรือ
                       (47,287 ไร่) อำเภอภูกระดึง (40,084 ไร่) และอำเภอนาแห้ว (1,355 ไร่) ตามลำดับ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38