Page 35 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               28






                       ในอำเภอวังสะพุง อำเภอเมืองเลย อำเภอเชียงคาน อำเภอเอราวัณ อำเภอนาด้วง อำเภอปากชม
                       อำเภอท่าลี่ อำเภอภูหลวง อำเภอผาขาว อำเภอภูเรือ อำเภอหนองหิน อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูกระดึง
                       และอำเภอนาแห้ว
                           นอกจากนี้จังหวัดเลยยังมีการผลิตไม้ผล (กล้วยน้ำว้า มะม่วง มะขามหวาน) จากข้อมูล

                       สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเลย (2562) ผลผลิตกล้วยน้ำว้า 49,197.44 ตันต่อปี มะม่วง
                       43,724.31 ตันต่อปี และมะขามหวาน 6,783.08 ตันต่อปี อีกทั้งมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
                       เหมาะแก่การผลิตไม้ดอกไม้ประดับด้วย

                       4. แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ


                         4.1  ยางพารา
                             1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่
                       298 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอวังสะพุง อำเภอปากชม อำเภอนาด้วง และอำเภอเมืองเลย
                       ตามลำดับ ทั้งนี้ตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) เน้นให้มีการเพิ่ม
                       ผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่อปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายในปี

                       2579 นั้น ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพ
                       พื้นที่และต้านทานโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซม
                       และพืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยาง การบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัด

                       แต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ำยางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน เน้น
                       การพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง
                       ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพและสามารถ
                       ถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่

                             2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 292,409 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองเลย อำเภอวังสะพุง อำเภอเชียงคาน อำเภอเอราวัณ
                       อำเภอปากชม อำเภอนาด้วง อำเภอภูเรือ อำเภอท่าลี่ และอำเภอผาขาว ตามลำดับ เกษตรกรยังคง
                       ปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน ควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิต

                       ยางพารา โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดยเฉพาะ
                       การปรับปรุงบำรุงดินเน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์
                       ในพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมปานกลาง ให้มากขึ้น ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี
                       และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง พัฒนาตลาดและช่องทาง

                       จัดจำหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยาง หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่
                       เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ
                             3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ

                       ควรส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่นทดแทน เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล
                       มะพร้าว ไผ่หวาน มันสำปะหลัง ยาสูบ แตงโม พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ ทดแทน ให้การช่วยเหลือ
                       เกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40