Page 34 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               27






                         3.2  อะโวคาโด มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 593 ไร่ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอภูเรือ
                       อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว โดยปลูกเฉลี่ย 3 ไร่ต่อครัวเรือน (25 ต้นต่อไร่) เกษตรกรนิยมปลูก
                       พันธุ์ปีเตอร์สัน เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่ เมื่อผลโตเต็มที่ 2 - 3 ผลต่อ 1 กิโลกรัม และพันธุ์แฮส
                       ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าที่ผู้บริโภคนิยม โดยเกษตรกรที่เพาะปลูกอะโวคาโด มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 6,339

                       บาทต่อไร่ (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 4 และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ระยะยาว) ราคาต้นพันธุ์เพาะเมล็ด
                       แบบคละพันธุ์อยู่ที่ 50 – 80 บาทต่อต้น หากเป็นต้นพันธุ์เสียบยอด ราคา 120 - 150 บาทต่อต้น
                       นิยมปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ระยะเวลาเก็บเกี่ยวช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม
                       ให้ผลผลิตเฉลี่ย 290 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 5,564 บาทต่อไร่ ราคาขาย

                       เฉลี่ยอยู่ที่ 50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะมีพ่อค้าคนกลางทั้งในและนอกจังหวัดเลยมารับซื้อเพื่อส่งขาย
                       ต่อไปยังจังหวัดอื่น ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดชลบุรี และ
                       กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังมีพ่อค้าบางรายนำมาวางจำหน่ายที่ร้านบริเวณริมทางถนนเลย – ภูเรือ
                       มีราคาขายปลีกเฉลี่ยอยู่ที่ 60 – 100 บาทต่อกิโลกรัม

                             สำหรับผลผลิตอะโวคาโดของจังหวัดเลย มีอายุอยู่ในช่วง 4 – 5 ปี โดยจะเริ่มให้ผลผลิตใน
                       ปีแรก แต่ยังไม่มาก ทั้งนี้ เกษตรกรควรเลือกสายพันธุ์ตามความต้องการของตลาดและเป็นพันธุ์แท้
                       ควรปลูกในที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง และต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ใต้โคนต้นทุกปี รวมถึงต้องเก็บเกี่ยวเฉพาะผลที่

                       แก่จัดเท่านั้น จึงจะได้ผลผลิตที่มีรสชาติดี หวานมัน ไม่ฝาด เนื้อนิ่มแน่น ไม่เละ ไม่มีเสี้ยน มีคุณภาพ
                       ตรงกับความต้องการของตลาด 5,935 ตันต่อปี (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,  2563)

                         3.3  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่ง
                       ที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสาระสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น

                       การแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือก
                       ในปี 2564 โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัว
                       เพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดำรงชีพ
                       จากฐานข้อมูล Agri-Map Online จังหวัดเลยมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพร

                       ได้หลายชนิด อาทิ ขมิ้นชัน
                             ขิง อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย มีการปลูกขิงเพื่อส่งออก ขิงเป็นพืชล้มลุกที่มีสรรพคุณทั้งเป็น
                       ยาสมุนไพรและเป็นอาหาร จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ขิงเป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น
                       ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 500 เมตรขึ้นไปจะทำให้ขิงหัวโต ส่วนดินจะใช้ดินปนทรายและดินเหนียว

                       ร่วมด้วยเพราะดินจะอุ้มน้ำ น้ำก็จะรอน้ำจากธรรมชาติ คือ น้ำฝน และปัญหาของขิงส่วนมากจะเป็น
                       โรคเน่าซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคไส้เดือนฝอย และศัตรูพืชจำพวกแมลง ทำให้ได้ผลผลิตไม่ดีต้อง
                       ทำการรื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่โดยใช้ปุ๋ยและอาหารที่ทำด้วยอินทรีย์ ลำต้นจะใหญ่ ใบเขียวสวย ต้นทุน
                       จะต่ำลง ผลผลิตประมาณ 5 ตันต่อไร่ จากข้อมูลสำนักงานเกษตรจังหวัดเลยปี 2562 ผลผลิต

                       (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, 2561)
                             ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี
                       ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ โดยพื้นที่
                       จังหวัดเลยมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) 732,105 ไร่ กระจายอยู่
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39