Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
ตารางที่ 10 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้าว (ไร่) ยางพารา (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
เชียงคาน 19,887 779 20,666 - - -
ด่านซ้าย 2,750 3,092 5,842 4,096 - 4,096
ท่าลี่ 14,122 1,025 15,147 - - -
นาด้วง 4,400 14 4,414 - - -
นาแห้ว 26 182 208 - - -
ปากชม 5,737 600 6,337 - - -
ผาขาว 4,293 1,031 5,324 8,268 - 8,268
ภูกระดึง 428 473 901 1,268 - 1,268
ภูเรือ 277 1,470 1,747 937 - 937
ภูหลวง 4,924 2,804 7,728 6,909 - 6,909
เมืองเลย 32,800 1,364 34,164 - - -
วังสะพุง 26,104 2,859 28,963 18,754 - 18,754
หนองหิน 2,730 1,137 3,867 4,181 - 4,181
เอราวัณ 2,774 1,088 3,862 115 - 115
รวม 121,252 17,918 139,170 44,528 - 44,528
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต
และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่
การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งควรสงวนไว้เป็น
แหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอวังสะพุง อำเภอปากชม
อำเภอนาด้วง เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เช่น
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอวังสะพุง
อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย