Page 36 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               29






                       หรือเข้าโครงการ ปรับเปลี่ยนการผลิต (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกร
                       ในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น อ้อยโรงงาน ข้าว มันสำปะหลัง

                       ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ในส่วนนี้ภาครัฐควรเน้นให้เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าวต่อไป เนื่องจาก
                       ปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพารา เน้นการลดพื้นที่การปลูกยางพาราอยู่แล้ว ฉะนั้นควรสร้าง
                       ความตระหนักให้เกษตรกร เน้นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน หรือการเข้าร่วมโครงการเกษตร
                       ทฤษฎีใหม่ หรือวนเกษตร เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุดต่อไป

                         4.2  อ้อยโรงงาน

                             1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่
                       มีเนื้อที่ 22 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอเมืองเลย ทั้งนี้ตามแผนยุทธศาสตร์ สำนักงาน
                       คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2560 - 2564 มียุทธศาสตร์ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย

                       การบริหารจัดการ และการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลทราย และอุตสาหกรรม
                       เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตอ้อยโรงงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง แต่เน้นการลดต้นทุนผลผลิต ส่งเสริมให้
                       เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบคุณภาพสูง มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยการรณรงค์ลดการเผาตอซังเพื่อเพิ่ม
                       ผลผลิตและลดปัญหาภาวะโลกร้อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดค้นเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดยใช้
                       เครื่องจักรเพื่อลดปัญหาแรงงาน ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มและเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่

                       จัดหาปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร และอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีการปรับปรุงบำรุงดินโดยลด
                       ต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้มีการปลูกอ้อยโรงงานที่มีสายพันธุ์ต้านทานโรค สร้างความตระหนักและ
                       ความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ในการปลูกอ้อยโรงงาน เพื่อแก้ไข

                       ปัญหาการปรับเปลี่ยนพื้นที่
                             2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงาน
                       อยู่ มีเนื้อที่ 318,983 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอวังสะพุง อำเภอผาขาว อำเภอเอราวัณ อำเภอหนองหิน
                       อำเภอนาด้วง อำเภอภูหลวง อำเภอเมืองเลย อำเภอภูกระดึง และอำเภอเชียงคาน ตามลำดับ

                       เกษตรกรยังคงปลูกอ้อยโรงงานได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก
                       พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดิน และการบริหารจัดการน้ำ ให้มีเพียงพอ
                       และเหมาะสมต่อการเพาะปลูก สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก
                       การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเพิ่มมูลคาของเสียจากโรงงานน้ำตาล และการนำของเสีย

                       จากโรงงานน้ำตาลไปใชในการปรับปรุงบำรุงดินในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดตนทุนใหแก่เกษตรกร
                       ชาวไร่อ้อย โดยไม่มีผลเสียตอสุขภาพ สิ่งแวดลอม และชุมชนชาวไร่อ้อย
                             3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ

                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
                       หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการ ปรับเปลี่ยนการผลิต (Zoning by Agri-Map)
                       เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41