Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
2.4 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเลยในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่
เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 7 - 8)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 3,052 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.11
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอวังสะพุง 1,305 ไร่ อำเภอเมืองเลย 695 ไร่ และ
อำเภอนาด้วง 658 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,298,363 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 47.86 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอวังสะพุง 301,569 ไร่ อำเภอเมืองเลย
217,823 ไร่ และอำเภอเชียงคาน 131,468 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 549,175 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 20.23 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอเมืองเลย 140,820 ไร่ อำเภอนาด้วง
67,155 ไร่ และอำเภอผาขาว 50,863 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 863,204 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสม
ของที่ดิน ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 222 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.27 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
พบมากในอำเภอวังสะพุง 152 ไร่ อำเภอปากชม 48 ไร่ และอำเภอนาด้วง 19 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 105,032 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.09 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง พบมากในอำเภอวังสะพุง 20,067 ไร่ อำเภอด่านซ้าย 18,898 ไร่ และอำเภอภูเรือ
13,344 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 64,799 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.80 ของพื้นที่
ศักยภาพเล็กน้อย พบมากในอำเภอด่านซ้าย 20,246 ไร่ อำเภอปากชม 11,023 ไร่ และอำเภอเมืองเลย
7,415 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 79,695 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แต่ยังไม่ใช้
พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
และพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่าจังหวัดเลยมีพื้นที่
ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น
1,196,161 ไร่ โดยกระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่
อำเภอวังสะพุง 282,655 ไร่ รองลงมา ได้แก่ อำเภอเมืองเลย 207,548 ไร่ อำเภอเอราวัณ 123,166 ไร่
และอำเภอเชียงคาน 121,279 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 2,830 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92.73 ของพื้นที่
ศักยภาพสูง พบมากในอำเภอวังสะพุง 1,153 ไร่ อำเภอเมืองเลย 691 ไร่ อำเภอนาด้วง 639 ไร่ และ
อำเภอปากชม 347 ไร่