Page 37 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
30
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน แต่ปัจจุบัน
เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ควรสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการบริหารจัดการพื้นที่ และ
การปรับปรุงบำรุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม หากเกษตรกรต้องการกลับมาใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานเหมือนเดิม
จะได้ไม่ต้องมีต้นทุนการผลิตสูงในการปรับปรุงบำรุงดิน
4.3 ข้าว
1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 2,635 ไร่
อยู่ในเขตอำเภอนาด้วง อำเภอเมืองเลย อำเภอวังสะพุง และอำเภอท่าลี่ ตามลำดับ พื้นที่ทั้ง 4 อำเภอ
ตั้งอยู่ในเขตชลประทาน ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้
ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน
การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรด้าน
การตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตร
อินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) และเนื่องจากเป็น
พื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน
ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อ
การปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็น
พืชไร่ เพื่อที่ว่าในอนาคตจะได้กลับมาทำนาได้อีก
2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่
มากถึง 170,510 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเชียงคาน อำเภอเมืองเลย และอำเภอวังสะพุง ตามลำดับ
และกระจายตัวในทุกอำเภอ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี
หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ
เช่น ชลประทาน จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่น
จะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำหรือ
เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควร
ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีและต้องการปรับเปลี่ยนการผลิตควรเป็นพืชไร่
เพื่อที่ว่าในอนาคตยังสามารถกลับมาทำนาได้อีก
3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน
ปลูกข้าวอยู่ มีประมาณกว่าล้านไร่ ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม โดยสนับสนุน
การปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มี
ความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้า
โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้หากพืช
ที่ปลูกเป็นพืชไร่ หากในอนาคตข้าวราคาดี เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผล