Page 38 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
31
หรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตร
รูปแบบอื่น อาทิ ทำการเกษตรแบบผสมผสานทดแทน
4.4 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ มีเนื้อที่ 221 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอวังสะพุง อำเภอปากชม อำเภอนาด้วง
และอำเภอเมืองเลย ตามลำดับ ทั้งนี้คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอ
แผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหาร
จัดการระบบน้ำ การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนา
ต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำ
มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP)
และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่า
ไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากราคาไม่ดีหรือประสบปัญหาโรคและแมลงรบกวน ราคาไม่ดี
และเกษตรกรต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเปลี่ยนเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่าในอนาคตจะได้กลับมาปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้อีก
2) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ มีเนื้อที่ 105,032 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอวังสะพุง อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ
และกระจายตัวในทุกอำเภอ เกษตรกรยังคงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหา
ขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการระบบน้ำ เช่น ชลประทาน
จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นจะลดลง และ
พื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำหรือเกษตรทฤษฎีใหม่
เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืช
ชนิดอื่น ทั้งนี้หากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาไม่ดีและต้องการปรับเลี่ยนการผลิตควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่า
ในอนาคตยังสามารถกลับมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ดังเดิมได้อีก
3) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน
เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ
ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการ
ปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความ
เหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้า
โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ปัจจุบัน
เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ยางพารา อ้อยโรงงาน
ข้าว มันสำปะหลัง เป็นต้น ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ถ้าในอนาคตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาดี
เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมา
ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น เช่น
ทำการเกษตรแบบผสมผสาน แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตและการตลาดร่วมด้วย