Page 26 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          19



                  เป็นประโยชน์ในดินลดลง  เนื่องจากโพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ง่าย  และสามารถที่จะถูกชะ
                  ล้างได้ง่ายเช่นกัน  โดยเฉพาะในดินเนื้อหยาบในบริเวณที่มีฝนตกชุก  ทำให้เกิดการสูญเสียโพแทสเซียมในดินเนื่องจาก
                  การพัดพาไปกับน้ำ (วิเชียร,2548)


                  ตารางที่ 7 ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินก่อนและหลังการทดลองปีที่ 1 และปีที่ 2

                                                                                                        -1
                                                                      ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (mg kg )
                                    ตำรับการทดลอง                          ปีที่  1            ปีที่ 2
                                                                       ก่อน      หลัง      ก่อน      หลัง
                  ตำรับที่ 1 ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับ  130.33   71.33   57.00   50.67
                  กลบตอซังข้าวโพดหวาน
                  ตำรับที่ 2 ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมัก  82.33   70.67   58.33   45.33
                  ชีวภาพ
                  ตำรับที่ 3 ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ย  139.67   63.00   49.67   44.00
                  สด ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ

                  ตำรับที่ 4 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับ  65.67   67.33   63.67   40.33
                  กลบตอซังข้าวโพดหวาน
                  ตำรับที่ 5 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำ  326.33   56.00   44.33   27.33
                  หมักชีวภาพ
                  ตำรับที่ 6 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืช  219.67   53.33   68.67   44.00
                  ปุ๋ยสด และน้ำหมักชีวภาพ
                  ตำรับที่ 7 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับ  113.67   64.67   55.33   44.67
                  สับกลบตอซังข้าวโพดหวาน

                  ตำรับที่ 8 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับ  214.33   86.00   62.67   56.00
                  น้ำหมักชีวภาพ
                  ตำรับที่ 9 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับ  173.00   37.33   72.67   38.33
                  พืชปุ๋ยสดและน้ำหมักชีวภาพ
                                        F-test                          ns        ns       ns        ns
                                        CV (%)                        37.10     25.53     28.23     37.70

                    หมายเหตุ  ns หมายถึง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ


                             1.5 ปริมาณแคลเซียมในดิน (Ca)
                               แคลเซียมเป็นธาตุอาหารรองและอยู่ในองค์ประกอบของดิน  วัสดุเศษพืชและวัสดุปรับปรุงดินใน
                  ปริมาณมากกว่าธาตุชนิดอื่น พืชมีความต้องการแคลเซียมปริมาณมากเช่นกัน เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของรากพืช
                  จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินก่อนการทดลองในปีที่ 1 (ตารางที่ 5) พบว่า ในดินมีปริมาณแคลเซียมอยู่ใน
                  ระดับสูง  โดยพบว่าก่อนการทดลองในดินมีปริมาณแคลเซียมอยู่ระหว่าง  22.59 – 36.49 เซนติโมลต่อกิโลกรัม  ผล

                  วิเคราะห์ดินหลังการทดลองพบว่า  ทุกตำรับการทดลองดินมีปริมาณแคลเซียมลดลง แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
                  ตำรับการทดลองที่ 8 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ มีปริมาณแคลเซียมสูง
                  ที่สุดเท่ากับ 2.10 เซนติโมลต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง  ตำรับการทดลองที่ 6 การใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12
                  อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด และน้ำหมักชีวภาพมีปริมาณแคลเซียมต่ำที่สุดเท่ากับ 0.91 เซนติโมลต่อ
                  กิโลกรัม ในดินมีปริมาณแคลเซียมอยู่ในระดับต่ำ   ปริมาณแคลเซียมในดินก่อนและหลังการทดลองปีที่ 2 (ตารางที่ 5)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31