Page 24 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                   22




                                                       ผลการทดลองและวิจารณ์
                            จากการศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพด

                     หวานในจังหวัดสงขลา  ซึ่งด าเนินการในแปลงทดลองพื้นที่หมู่ที่  2  ต าบลชิงโค  อ าเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา

                     ผลการศึกษาเป็นดังนี้
                            1.  การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน  ก่อนและหลังด าเนินการทดลอง  ที่ระดับความลึก  0-20

                     เซนติเมตร ผลการศึกษาเป็นดังนี้

                                    1.1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)
                                         จากผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินก่อนด าเนินการทดลองในปีที่ 1 พบว่า ในดิน

                     มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระดับกรดจัด  มีค่าเท่ากับ  5.36  (ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน

                     กรมพัฒนาที่ดิน 2547) ซึ่งหลังการทดลองในปีที่ 1 ผลวิเคราะห์ของดิน พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
                     แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญ    จะเห็นได้ว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้นทุก

                     ต ารับการทดลอง โดยเฉพาะในต ารับที่ 6 ที่มีการใส่ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 4,000 กิโลกรัม ร่วมกับการใช้พืชปุ๋ย

                     สด และน ้าหมัก พด.2 มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพิ่มขึ้นสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.43  รองลงมาคือ
                     ต ารับที่ 4 ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน

                     ต ารับที่ 7 ที่มีปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับสับตอซังข้าวโพดหวาน และน ้าหมักชีวภาพ

                     พด.2  และต ารับที่ 5 ที่มีการใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด และน ้าหมักชีวภาพ พด.2
                     มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.76, 6.60 และ 6.60 ตามล าดับ ส่วนต ารับที่ 1 ที่มีการใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 4,000 กิโลกรัมต่อไร่

                     ร่วมกับน ้าหมักชีวภาพ  พด.2  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างน้อยที่สุด  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  6.36  ส าหรับในปีที่  2  ได้

                     ด าเนินการตามต ารับการทดลอง โดยหาค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินหลังการทดลองปีที่ 2 พบว่า ค่าความ
                     เป็นกรดเป็นด่างทุกต ารับมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ  มีค่าเฉลี่ย  6.47  ซึ่งในต ารับที่  6  มีการใส่ปุ๋ยหมัก  พด.1

                     อัตรา  4,000  กิโลกรัม  ร่วมกับการใช้พืชปุ๋ยสด  และน ้าหมัก  พด.2  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินสูงที่สุด

                     เช่นเดียวกับหลังการทดลองในปีที่  1  รองลงมาคือ  ต ารับที่  1  ที่มีการใส่ปุ๋ยคอก  อัตรา  4,000  กิโลกรัมต่อไร่
                     ร่วมกับน ้าหมักชีวภาพ พด.2 ต ารับที่ 2 ที่มีการใส่ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับน ้าหมัก

                     ชีวภาพ พด.2 และต ารับที่ 5 ที่มีการใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด และน ้าหมักชีวภาพ

                     พด.2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.60, 6.57 และ 6.50 ตามล าดับ ส่วนต ารับที่ 7 ที่มีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300
                     กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน และน ้าหมักชีวภาพ พด.2    มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างน้อย

                     ที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.23 ซึ่งในทุกต ารับการทดลองค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการปลูก

                     ข้าวโพด เนื่องจากค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวโพดอยู่ระหว่าง 5.5-6.8 จากการทดลอง
                     ( ภาพที่ 2 และตารางที่ 3 )
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29