Page 20 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ในดินเหนียว จ.สุพรรณบุรี Study efficiency of biofertilizer for rice cultivation on growth and rice yield in clayer soil in Suphanburi province.
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นทุกต ารับทดลอง แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติเช่นเดียวกับก่อนการทดลอง

                   ปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ระหว่าง 1.42 – 2.05 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าปริมาณอินทรียวัตถุสูงขึ้นเล็กน้อย
                   หลังทดลองในทุกต ารับทดลอง โดยต ารับทดลองที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ าร่วมกับปุ๋ยเคมี 50
                   เปอร์เซ็นต์ (ต ารับทดลองที่ 5) มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุด 2.05  เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าต ารับควบคุม มี
                   ปริมาณอินทรียวัตถุ 1.85 เปอร์เซ็นต์ ดังตารางที่ 5
                            3) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน จากการทดลองพบว่า ก่อนการปลูกข้าวทุกต ารับ

                   ทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินอยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งมีปริมาณ
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินอยู่ระหว่าง  262.33 – 316.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 4) หลังเก็บ
                   เกี่ยวผลผลิตปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้นในต ารับควบคุม และต ารับใส่ปุ๋ยเคมี อัตราตาม

                   ค่าวิเคราะห์ดิน (ต ารับทดลองที่ 1 และ 2) ซึ่งมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน 328.67 และ
                   331.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ และพบว่าต ารับทดลองที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ (ต ารับทดลอง
                   ที่ 3 – 8) มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินลดลง โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าว
                   รูปแบบผงร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ (ต ารับทดลองที่ 7) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินต่ าที่สุด

                   มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน 228.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติกับ
                   ต ารับควบคุมและต ารับใส่ปุ๋ยเคมีอัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน (ต ารับทดลองที่ 1 และ 2) มีปริมาณฟอสฟอรัสที่
                   เป็นประโยชน์ในดิน 328.67 และ 331.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ดังตารางที่ 5
                            4) ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน จากการทดลองพบว่า ก่อนการปลูกข้าวทุกต ารับ

                   ทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยมีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน อยู่ในช่วง 101.27 –
                   111.27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับดินหลังทดลองปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินไม่
                   มีความแตกต่างทางสถิติเช่นเดียวกัน โดยปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในต ารับ
                   ควบคุม (ต ารับทดลองที่ 1) การใช้ปุ๋ยเคมีอัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน (ต ารับทดลองที่ 2) ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ย

                   ชีวภาพรูปแบบน้ า (ต ารับทดลองที่ 3) และการใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับปุ๋ยเคมี 70
                   เปอร์เซ็นต์ (ต ารับทดลองที่ 8) ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 101.77 เป็น
                   118.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 102.60 เป็น 109.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 101.27

                   เป็น 106.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเพิ่มขึ้นจาก 108.10 เป็น 120.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ดัง
                   ตารางที่ 5
                          ผลการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินปีที่ 2 การใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ าร่วมกับปุ๋ยเคมี
                   50 เปอร์เซ็นต์ (ต ารับทดลองที่ 4) มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นด่างเล็กน้อย และแตกต่างอย่างมี
                   นัยส าคัญยิ่งทางสถิติกับการใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ (ต ารับ

                   ทดลองที่ 7) มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีค่าเป็นกลาง หลังทดลองพบว่า ความเป็นกรดเป็นด่างของ
                   ดินเพิ่มขึ้นทุกต ารับทดลองที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าวแต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ มีค่าอยู่
                   ระหว่าง 7.43 – 7.77 ก่อนการปลูกข้าวทุกต ารับทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ซึ่งมีปริมาณ

                   อินทรียวัตถุ มีค่าอยู่ระหว่าง 1.26 - 1.52 เปอร์เซ็นต์ หลังการทดลองปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นทุก
                   ต ารับทดลอง แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติเช่นเดียวกับก่อนการทดลอง ปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ระหว่าง
                   1.42 – 2.05 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าปริมาณอินทรียวัตถุสูงขึ้นเล็กน้อยหลังทดลองในทุกต ารับทดลอง โดย
                   ต ารับทดลองที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ าร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ (ต ารับทดลองที่ 5)  ก่อนการ

                   ปลูกข้าวทุกต ารับทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินอยู่ในระดับสูง
                   มาก ซึ่งมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินอยู่ระหว่าง  262.33 – 316.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลัง
                   เก็บเกี่ยวผลผลิตปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้นในต ารับควบคุม และต ารับใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา
                   ตามค่าวิเคราะห์ดิน (ต ารับทดลองที่ 1 และ 2) ก่อนการปลูกข้าวทุกต ารับทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25