Page 25 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           25


                       ผลการศึกษาที่ได้ ดังแสดงในตารางแสดงประสิทธิภาพของสมการคาลิเบรชัน (ตารางที่ 4) ซึ่งพบว่า

               เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสามารถใช้ในการทำนายค่าปริมาณโพแทสเซียมในดินได้ เมื่อมีการสร้างสมการโดย
               พิจารณาจากปริมาณของอนุภาคดินเหนียวเป็นหลัก โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคขนาดดินเหนียวตั้งแต่ 21% ขึ้นไป

                                                        2
                                                                                                     2
               ให้สมการคาลิเบรชันที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า (R =0.87) กลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว <20% (R <0.71)
               และกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ไม่ได้มีการแยกตามปริมาณของอนุภาคดินเหนียว (R =0.54) ดังนั้น สมการจากกลุ่ม
                                                                                  2
               ตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว 21-40% และ 41-60% เป็นสมการคาลิเบรชันที่มีประสิทธิภาพปานกลาง สามารถ

               ใช้ในการคัดเลือก หรือตรวจคุณภาพบางอย่างได้ และสมการจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว >60% (R  =
                                                                                                          2
               0.97) ถือว่าเป็นสมการคาลิเบรชันที่มีประสิทธิภาพดี สามารถใช้ในการตรวจคุณภาพได้แต่ต้องใช้ด้วยความ

               ระมัดระวังในการประยุกต์ใช้งาน

                       ในส่วนการทดสอบความถูกต้องของสมการที่สร้างขึ้น (validation) นั้น พบว่าทั้งสมการที่สร้างจากกลุ่ม
               ตัวอย่างทั้งหมดที่ไม่ได้มีการแยกตามปริมาณของอนุภาคดินเหนียว และสมการที่สร้างจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาค

               ขนาดดินเหนียว ≤ 20% ขึ้นไป มีค่า RPD ต่ำ มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ไม่สามารถใช้เป็นสมการทำนายได้ แต่ใน
               สมการที่สร้างจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียวมากกว่า 21% ขึ้นไป มีค่า RPD > 3 สูง แสดงให้เห็นว่าสมการ

               คาลิเบรชันที่สร้างขึ้นสามารถทำนายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมการจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว >60%

               สมการมีค่า RPD สูง สามารถทำนายได้อย่างแม่นยำ


                                                  สรุปและวิจารณ์ผลการวิจัย


                       การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์โดยการสร้างสมการทํานายปริมาณโพแทสเซียมในดินด้วยเทคนิคเนียร์

               อินฟราเรด โดยใช้การวัดที่เลขคลื่น 12,800- 3,900 cm (ความยาวคลื่น 780-2,560 nm) ประกอบด้วยสมการ
                                                              -1
               จากกลุ่มตัวอย่างดินทั้งหมดที่ไม่มีการแยกปริมาณของอนุภาคดินเหนียว และสมการจากการพิจารณาปัจจัยด้าน

               ปริมาณอนุภาคดินเหนียว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสามารถใช้ในการทำนายค่าปริมาณ

               โพแทสเซียมในดินได้เมื่อมีการสร้างสมการโดยพิจารณาจากปริมาณของอนุภาคดินเหนียวเป็นหลัก โดยกลุ่ม
               ตัวอย่างที่มีอนุภาคขนาดดินเหนียวตั้งแต่ 21% ขึ้นไป ให้สมการคาลิเบรชันที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า (R >0.87)
                                                                                                     2
               กลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว ≤ 20% (R <0.71) และกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ไม่ได้มีการแยกตามปริมาณของ
                                                     2
               อนุภาคดินเหนียว (R =0.54) โดยเฉพาะสมการที่สร้างจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว >60% มีค่า
                                  2
                                      2
               สหสัมพันธ์ของสมการสูง (R  = 0.97) และมีค่าความแม่นยำในการทดสอบสมการสูง (RPD 5.99) ถือว่าเป็นสมการ
               คาลิเบรชันที่มีประสิทธิภาพดี สามารถทำนายได้อย่างแม่นยำ แต่ยังคงมีข้อจำกัดเนื่องจากสมการที่ไม่มีการแยก
               ปริมาณของอนุภาคดินเหนียวยังมีประสิทธิภาพในการทำนายไม่ดี ทำให้ยังไม่ครอบคลุมการใช้งาน ดังนั้นจึงต้องมี

               การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้สมการที่มีความแม่นยำสูงขึ้น เช่น การสร้างสมการจากตัวอย่างดินที่มี specific land
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30