Page 15 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            9



                    คุณสมบัติทางกายภาพดินในพื้นที่ปลูกข้าวไร่ทางภาคเหนือของประเทศลาว และพบว่าตำรับที่มีถ่านชีวภาพจะช่วย
                    รักษาความชื้นที่หน้าดินได้ดีกว่าตำรับที่ไม่มีการใส่ถ่านชีวภาพนอกจากนี้ อิสริยาภรณ์ (2552) ได้ศึกษาการใช้ถ่าน
                    ชีวภาพปรับปรุงดินในเขตร้อนชื้นที่มีกระบวนการชะล้างสูงและมีปริมาณอินทรียวัตถุและความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
                    พบว่าการใช้ถ่านชีวภาพช่วยให้สมบัติทางกายภาพและเคมีของดินดีขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าความพรุนของถ่าน

                    ชีวภาพทำให้ดินมีการระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้นและมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ด้วย
                    วิชัย และคณะ (2554) ศึกษาชนิดและอัตราที่เหมาะสมของถ่านชีวภาพร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตของ
                    ข้าวปทุมธานี 1 ในสภาพดินทราย โดยเปรียบเทียบถ่านที่มีวิธีการผลิตและวัสดุที่ใช้ในการผลิตต่างกัน ได้แก่ถ่านไม้
                    สำหรับหุงต้ม ถ่านแกลบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ถ่านแกลบจากเตาเผาคุนตัง และถ่านชีวภาพจากน้ำหมักชีวภาพ ที่
                    อัตรา 200 และ 400 กิโลกรัมต่อไร่ พบว่า ถ่านชีวภาพแต่ละชนิด ไม่ทำให้สมบัติทางเคมีของดิน (pH, %OM,
                    Available P, Exchangeable K Caและ Mg) แตกต่างกับแปลงควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลผลิตของข้าวไม่
                    มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่าการใช้ถ่านชีวภาพสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงกว่าแปลงควบคุม
                    เสาวคนธ์ และ Cadisch (2555) ศึกษาการปลูกข้าวในเรือนทดลอง โดยใช้ถ่านชีวภาพ 3 ชนิด ได้แก่ ไม้ไผ่ ยูคา
                    ลิปตัส และแกลบ  ใช้ดิน 6 กิโลกรัม ร่วมกับใส่ถ่านชีวภาพ 60 กรัม ถ่านชีวภาพไม้ไผ่ ยูคาลิปตัส และแกลบ มีค่า

                    pH 9.9 9.0 และ 6.8 ตามลำดับ  มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน 61.6 117.3 และ 29.9 ตามลำดับ Total C
                    545, 661 และ 307 กรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ  และ Total N 8.9, 5.7 และ 10.4 กรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
                    พบว่า ดินที่ใส่ถ่านชีวภาพมีค่า pH, CEC, total C และ N, K, Caและ Mg ในดินเพิ่มขึ้น  ในกรรมวิธีที่ใส่ถ่านแต่ไม่ใส่
                    ปุ๋ยไนโตรเจนไม่ได้ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ่านที่ผลิตจากยูคาลิปตัสเมื่อใส่ลงไปในดินจะทำให้
                    ผลผลิตข้าวลดลง  การใส่ถ่านร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่ระยะข้าวเปลี่ยนตาใบเป็นตาดอก ผลผลิตของข้าวเพิ่มขึ้น
                    เป็น 20% 42% และ 15% ในถ่านไม้ไผ่ ถ่านยูคาลิปตัสและถ่านแกลบ ตามลำดับ  การใส่ถ่านลงในดินช่วยเพิ่ม
                    ความอุดมสมบูรณ์ และประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตของดินนาที่ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  แต่ในถ่านที่มีค่า C/N สูง

                    จะต้องมีการให้ปุ๋ยไนโตรเจนในช่วงเปลี่ยนตาใบเป็นตาดอกให้เพียงพอ
                       ศิริลักษณ์ (2556) ได้ศึกษาการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยหมักในการปลูกคะน้า พื้นที่แปลงทดลอง 2 ตารางเมตร
                    อัตราส่วนระหว่างปุ๋ยหมักและถ่านชีวภาพ 0:0 (แปลงควบคุม), 100:0, 75:25, 50:50, 25:75 และ 0:100 ผลการ
                    ทดลองพบว่า อัตราส่วนปุ๋ยหมักต่อถ่านชีวภาพ 25:75 ให้ผลผลิตซึ่งวัดด้วยน้ำหนักคะน้าดีกว่าทุกแปลงอย่างมี
                    นัยสําคัญทางสถิติ
                       การเพิ่มอินทรีย์วัตถุลงในดินที่มีสมบัติแตกต่างกัน ไม่เพียงแต่ช่วยตรึงธาตุอาหารไว้เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการ
                    เจริญของพืช  ถ่านชีวภาพมีคุณลักษณะที่พิเศษ คือสามารถกักเก็บธาตุอาหารส่วนใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
                    ปลดปล่อยให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ดีกว่าอินทรีย์วัตถุชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบว่าถ่านชีวภาพ
                    สามารถดูดซับฟอสฟอรัสได้ ทั้ง ๆที่เป็นประจุลบ นอกจากนี้ถ่านชีวภาพยังคงสภาพอยู่ในดินได้นานกว่าอินทรีย์วัตถุ
                    ชนิดอื่น ๆ อีกด้วย (Lehmann, 2007)


                                                  ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ

                    ระยะเวลาดำเนินการ    เริ่มต้น  เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2563
                    สถานที่ดำเนินการ

                           - แปลงปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
                           - ห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยกายภาพดิน สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20