Page 18 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           12



                                                           ผลการวิจัย



                    1.  สถานที่ดำเนินการ และสมบัติบางประการของดิน
                        การศึกษาครั้งนี้คัดเลือกพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นตัวแทนลักษณะเนื้อดิน 3
                    ประเภท ได้แก่ เนื้อดินหยาบ เนื้อดินปานกลาง และเนื้อดินละเอียด โดยพื้นที่ศึกษาที่คัดเลือก (ตารางที่ 2) ผล

                    วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมีบางประการของดินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง (ตารางที่ 3) ดังนี้

                       ▪  แปลงที่ 1 อำเภอจักราช (พิกัด 48P X225343  Y1660394) ชุดดินโคราช เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน
                    (LS) จัดอยู่ในกลุ่มดินเนื้อหยาบ ดินเป็นกรดจัด ระดับอินทรียวัตถุในดินบนต่ำและต่ำมากในดินล่าง ระดับความจุใน
                    การแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ำมาก ปริมาณโพแทสเซียมต่ำมาก ปริมาณฟอสฟอรัสค่อนข้างต่ำในดินบนและมีปริมาณ

                    น้อยลงในดินล่าง ความหนาแน่นรวมของดินบนมีค่า 1.49 กรัมต่อเซนติเมตร และมีค่าเพิ่มขึ้นตามความลึกดิน (1.53
                    กรัมต่อเซนติเมตร) เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่าดินบน

                       ▪  แปลงที่ 2 อำเภอห้วยแถลง (พิกัด  48P X252479  Y1660960) ชุดดินพล เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย
                    แป้ง (SiL) จัดอยู่ในกลุ่มดินเนื้อปานกลาง ดินเป็นกรดปานกลาง ระดับอินทรียวัตถุในดินบนค่อนข้างต่ำและต่ำมากใน
                    ดินล่าง ระดับความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกปานกลาง ปริมาณฟอสฟอรัสในดินบนต่ำและมีปริมาณน้อยลงใน

                    ดินล่าง ปริมาณโพแทสเซียมในดินต่ำ ความหนาแน่นรวมของดินบนมีค่า 0.95 กรัมต่อเซนติเมตร และมีค่าเพิ่มขึ้น
                    ตามความลึกดิน (1.21 กรัมต่อเซนติเมตร) เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่าดินบน

                         เนื่องจากพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ต่ำทำให้เกิดการขังน้ำ เกษตรกรไม่สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ทัน จึง
                    เปลี่ยนพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ (พิกัด 48P X276393  Y1660928) เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง

                    (SiL) แทน
                       ▪  แปลงที่ 3 อำเภอปากช่อง (พิกัด 47P X753665  Y1611971) ชุดดินวังสะพุง เนื้อดินเป็นดินเหนียว (C)

                    จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อดินละเอียด ดินเป็นกรดจัดมาก ระดับอินทรียวัตถุในดินบนปานกลางและค่อนข้างต่ำในดินล่าง
                    ระดับความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกปานกลาง ปริมาณฟอสฟอรัสในดินบนปานกลางและมีปริมาณต่ำในดินล่าง
                    ปริมาณโพแทสเซียมในดินบนต่ำและต่ำมากในดินล่าง ความหนาแน่นรวมของดินบนมีค่า 1.58 กรัมต่อเซนติเมตร

                    และมีค่าเพิ่มขึ้นตามความลึกดิน  (1.61 กรัมต่อเซนติเมตร) เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่าดินบน

                    ตารางที่ 2  พื้นที่ศึกษาที่เป็นตัวแทนลักษณะเนื้อดิน 3 ประเภท
                        ลักษณะเนื้อดิน    อำเภอ          ชุดดิน                    จุดพิกัด (UTM)

                                                                                    X               Y
                    กลุ่มเนื้อดินหยาบ     จักราช         โคราช          48P      225343         1660394

                    กลุ่มเนื้อดินปานกลาง   ห้วยแถลง      พล             48P      252479         1660960
                                          ลำปลายมาศ      -              48P      276393         1660928

                    กลุ่มเนื้อดินละเอียด   ปากช่อง       วังสะพุง       47P      753665         1611971
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23