Page 19 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           13



                    ตารางที่ 3  ผลวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และทางเคมีบางประการของดิน
                                สมบัติดิน              อำเภอจักราช      อำเภอห้วยแถลง      อำเภอปากช่อง

                                                     ดินบน    ดินล่าง   ดินบน   ดินล่าง   ดินบน    ดินล่าง
                     เนื้อดิน                          LS       LS       SiL      SiL       C        C

                     ความหนาแน่นรวมของดิน (g/cm)      1.49     1.53     0.95     1.21      1.58     1.61
                     ความชื้นในดิน (% by wt)         13.66     13.18    23.39    25.02     3.33     3.44

                     พีเอช                            5.4       5.2      5.9      5.6      4.9      4.7
                     ค่าการนำไฟฟ้า (dS/m)             0.02     0.01     0.02     0.02      0.04     0.03
                     ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (%)      0.31     0.19     1.12     0.46      1.96     1.28

                     ปริมาณฟอสฟอรัส (mg/kg)           9.7       3        2.9      0.9      11.7     3.8
                     ปริมาณโพแทสเซียม (mg/kg)          20      12.3     35.8     31.2      47.8     21.7

                     ปริมาณแคลเซียม (mg/kg)           97.5     173.4   1066.1    479.3    875.3    504.3
                     ปริมาณแมกนีเซียม (mg/kg)         20.5      54      116      43.3     143.4     62

                     ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก    2.06     3.49     10.19    10.62    12.03    11.34
                    หมายเหตุ:  ดินบน มีความลึกดิน 0-25 เซนติเมตร
                             ดินล่าง มีความลึกดิน 25-50 เซนติเมตร



                    2.  สมบัติถ่านชีวภาพไม้ประดู่

                        การศึกษาสมบัติของถ่านชีวภาพไม้ประดู่ พบว่าลักษณะทางกายภาพเมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายกล้องจุลทรรศน์
                    อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ที่กำลังขยาย 1500 เท่า ถ่านชีวภาพไม้ประดู่มีรูพรุนจำนวนมาก และมีขนาดเล็ก
                    ใหญ่ไม่สม่ำเสมอ ขนาดรูพรุนอยู่ในช่วง 0.4-15 ไมโครเมตร (ภาพที่ 7) มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ 50.94 ถึง 71.67 ตาราง

                    เมตรต่อกรัม การกระจายขนาดรูพรุนในช่วงรูพรุนขนาดกลาง (รัศมี 20-500 อังสตรอม, Å) อยู่ในช่วง 20-47
                    อังสตรอม ปริมาตรการสะสมในรูพรุนขนาดกลางเท่ากับ 0.463 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม ส่วนปริมาตรรูพรุน

                    ขนาดเล็กเท่ากับ 0.0007 ถึง 0.06 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม
                        สมบัติทางเคมีของถ่านไม้ประดู่ (ตารางที่ 4) เป็นด่าง ค่าการนำไฟฟ้า 1.54 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร ปริมาณอินทรีย์

                    คาร์บอน 8.43 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม มีค่าเท่ากับ 0.37,
                    0.21, 0.50, 1.73 และ 0.42 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24