Page 13 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            7



                       เครื่องวัดความชื้นด้วยนิวตรอนเหมาะกับงานภาคสนาม มีข้อดี คือ ความถูกต้องสูงสามารถวัดความชื้นของดิน
                    ตรงจุดเดิมซ้ำ ๆ ได้โดยไม่ทำลายตัวอย่างดินเพิ่มอีก (นอกจากที่เจาะใส่ท่อนำหัววัด) อย่างไรก็ตาม เครื่องมือชนิดนี้ก็
                    มีข้อด้อยหลายประการ เช่น เป็นอุปกรณ์ราคาแพงช่วงความลึกที่เหมาะสมในการวัดต้องมีระยะไม่ต่ำกว่า 30 ซม. ไม่
                    สามารถย่นระยะให้ถี่กว่านั้นได้เนื่องจากขอบเขตการวัดของหัววัดจะเป็นรูปทรงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 30

                    ซม. และไม่เหมาะต่อการวัดความชื้นตรงผิวดินเพราะให้ค่าที่คลาดเคลื่อนได้ รวมทั้งผู้ใช้อาจได้รับอันตรายจากรังสี
                    นิวตรอนหากขาดมาตรการป้องกันที่ดี























                           ภาพที่ 5 เครื่องวัดความชื้นด้วยนิวตรอน

                    ▪  การแทรกซึมน้ำของดิน

                       การแทรกซึมน้ำของดิน คือการเคลื่อนที่ของน้ำผ่านผิวหน้าดินและเคลื่อนที่ลึกลงในดินตามช่องว่างระหว่างเม็ด
                    ดินตามแรงดึงดูดของโลก อัตราการซึมของน้ำผ่านผิวดินต่อหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า อัตราการซึมของน้ำผ่านผิวดิน
                    (Intake rate หรือ Infiltration rate)
                       การซึมน้ำของดิน เป็นขบวนการที่น้ำซึมลงสู่ดินที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของแรง capillary และ gravity
                    potentials โดยในช่วงแรกอัตราการซึมน้ำจะขึ้นอยู่กับแรง capillary และจะลดลงจนเมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ำ อัตรา
                    การซึมน้ำจะขึ้นอยู่กับแรง gravitational เป็นสำคัญ (Hewlett และ Nutter, 1969) ภายในหน้าตัดดินน้ำที่เคลื่อนที่

                    ลงไปเรื่อย ๆ จะทำให้ชั้นผิวดินอิ่มตัวเป็นชั้นบาง ๆ ถัดจากชั้นผิวดินลงไปดินจะเปียกมาก แต่ไม่ถึงกับอิ่มตัว ความ
                    ชื่นสม่ำเสมอ เรียกชั้นดินนี้ว่าชั้นลำเลียงน้ำ (transmission zone) ถัดจากชั้นนี้ จะเป็นชั้นที่น้ำเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ดิน
                    แห้งดั่งเดิม เรียกชั้นดินนี้ว่าชั้นดินเริ่มเปียก (wetting zone ) อัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินจะมีค่าสูงสุดในช่วงเริ่มต้น
                    แล้วจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไปจนกระทั่งดินที่ใกล้ผิวดินอิ่มตัวด้วยน้ำ อัตราการซึมน้ำจะลดลงจนมีแนวโน้มคงที่
                    (USDA Natural Resources Conservation Service. 1998) อัตราการแทรกซึมน้ำของดิน จะมีความสัมพันธ์ต่อ
                    การเกิดน้ำไหลบ่าหน้าดิน โดยเมื่อฝนที่ตกในลุ่มน้ำมีปริมาณและความหนักเบา สูงกว่าอัตราการซึมน้ำของดิน ก็จะ
                    ทำให้มีน้ำส่วนเกินที่ไม่สามารถซึมลงดินได้ไหลบ่าไปตามหน้าผิวดินลงสู่ลำธารต่อไป (Ward และ Robinson, 1990;
                    Black, 1996)
                       การหาค่าความจุของการแทรกซึมน้ำของดิน ใช้เครื่องวัดการแทรกซึม (infiltrometer) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด แบบ

                    ธรรมดาที่สุดนั้นประกอบด้วยแผ่นโลหะรูปวงแหวนซึ่งซ้อนกันอย่างตื้นๆ เครื่องวัดจะถูกวางลงบนพื้นดินโดยให้
                    ส่วนบนยื่นออกมาเหนือผิวดินและส่วนล่างวางอยู่ใต้ดิน เติมน้ำลงในช่องทั้งสองโดยให้น้ำในทั้งสองช่องนั้นมีระดับ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18