Page 17 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           11



                       2.  การสำรวจและคัดเลือกแปลงทดลอง

                           สำรวจพื้นที่และคัดเลือกลักษณะดินสำหรับทดลองปลูกมันสำปะหลัง เพื่อคัดเลือกพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่
                    มีเนื้อดินที่แตกต่างกัน 3 เนื้อดิน ก่อนการทดลอง
                       3.  การเตรียมถ่านชีวภาพ

                           จัดเตรียมวัสดุการเกษตรในพื้นที่ (ไม้ประดู่) เพื่อนำมาเผาให้เป็นถ่านชีวภาพและวิเคราะห์สมบัติต่าง ๆ
                    พร้อมทั้งย่อยถ่านชีวภาพให้มีขนาดเหมาะสมก่อนนำมาใช้ในแปลงทดลอง

                       4.  การเตรียมแปลงทดลอง
                           จัดเตรียมแปลงมันสำปะหลัง ขนาดแปลง 10×40 เมตร ตามตำรับการทดลองใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
                    ในทุกตำรับการทดลอง และจัดหาท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ใส่ถ่านชีวภาพตามแผนการทดลองก่อนเพาะปลูกประมาณ

                    7 วัน และปักท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง โดยใช้ระยะปลูก 1x1 เมตร จำนวน 1 ท่อนพันธุ์ต่อหลุม
                       5.  การเก็บข้อมูลระหว่างการทดลองในภาคสนาม

                           5.1  อัตราการแทรกซึมน้ำ (Double-ring Infiltrometer test) เป็นการทดสอบหาค่าอัตราการซึมของน้ำ
                    ในมวลดิน ตามวิธี ASTM D3385 ในแปลงทดลอง

                           5.2  ปริมาณความชื้นในแปลงทดลองทุก 60 วัน ด้วยเครื่อง Profile Probe (บริษัทไทยวิกตอรี่, 2555)
                       6.  การเก็บตัวอย่างผลผลิตมันสำปะหลัง

                           6.1 เก็บข้อมูลผลผลิต ได้แก่ น้ำหนักตันสด (กิโลกรัมต่อไร่) และผลผลิตหัวสด (กิโลกรัม)
                           6.2 ปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังสด สุ่มตัวอย่างหัวมันสด 5 กิโลกรัม ชั่งน้ำหนักในอากาศและในน้ำโดย
                    เครื่อง Reiman scale โดยใช้หลักการวัดค่าความหนาแน่นหรือความถ่วงจำเพาะของหัวมันสำปะหลังสดในการหา

                    เปอร์เซ็นต์แป้ง (สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม, 2559)
                           6.3 คำนวณผลผลิตแป้ง โดยใช้สูตร ผลลิตแป้ง = (ผลผลิต/ไร่ x เปอร์เซ็นต์แป้ง)/100

                       7.  การวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการ
                           7.1 เนื้อดิน (Soil Texture) โดยวิธี pipette method (Reynolds, 1993) ผลที่ได้จากการวิเคราะห์นำมา

                    แจกแจงประเภทเนื้อดิน (soil textural class) โดยการเปรียบเทียบกับชั้นเนื้อดินตามเกณฑ์ของกระทรวงเกษตร
                    สหรัฐอเมริกา (USDA textural class)

                       8.  การประเมินผลและจัดทำรายงาน
                           วิเคราะห์ผลการทดลองโดยทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ  (Analysis  of  Variance,  ANOVA)
                    และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย  โดยใช้การทดสอบแบบ  Duncan’s  Multiple-Range  Test

                    (DMRT)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22