Page 14 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            8



                    เท่ากัน วงแหวนรอบนอกจะป้องกันไม่ให้น้ำในแหวนวงในกระจายออกไปเป็นบริเวณกว้างหลังจากที่ซึมลงไปก้นของ
                    แหวนวงใน อัตราที่น้ำจะต้องเติมลงไปในแหวนวงในเพื่อรักษาระดับของน้ำให้อยู่คงที่นั้นจะบอกให้ทราบถึงความจุ
                    ของการแทรกซึมโดยตรง




















                       ภาพที่ 6 เครื่องวัดการแทรกซึมของน้ำผ่านผิวดินแบบถังคู่ (Double-ring infiltrometer)


                    ถ่านชีวภาพ (Biochar)

                       ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ คือ ถ่านที่มีลักษณะเป็นเนื้อละเอียด และเต็มไปด้วยรูพรุน เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาก
                    กระบวนการเผาไหม้ของชีวมวล ในสภาวะที่มีก๊าซออกซิเจนอย่างจำกัด (Sohi et al., 2009)  ถูกให้ความร้อนผ่าน
                    กระบวนการย่อยสลาย ด้วยการให้ความร้อนทางเคมีเรียกว่า ไพโรไลซิส (Pyrolysis) ซึ่งเป็นกระบวนการการให้
                    ความร้อนที่นิยมใช้โดยจะเปลี่ยนชีวมวลที่ถูกให้ความร้อนในสภาวะที่ไม่มีอากาศให้กลายเป็นของแข็ง ของเหลว และ
                    ก๊าซ (Ozcimen and Karaosmanoglu, 2004) สามารถผลิตได้จากวัสดุจากธรรมชาติหลายชนิด เช่น ไม้ไผ่
                    กะลามะพร้าว ผลไม้ดิบ ซังข้าวโพด กะลาปาล์ม กากจากน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดจะมีสมบัติทางเคมี
                    และกายภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุและสภาวะของกระบวนการไพโรไลซิส
                       ความแตกต่างระหว่างถ่านชีวภาพ และถ่านทั่วไป (Charcoal) ถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง กรองน้ำ หรือดับกลิ่น ใช้
                    อุณหภูมิสูงกว่า 700 องศาเซลเซียส ขณะที่ถ่านชีวภาพใช้อุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้ถ่านชีวภาพมีสารที่เป็นประโยชน์กับ
                    พืช สามารถกักเก็บคาร์บอนในดินและช่วยปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน เนื่องจากคุณสมบัติของถ่านชีวภาพ

                    คือมีความเป็นรูพรุนสูงเมื่อใส่ลงในดินจะช่วยการระบายอากาศ การดูดซับความชื้น การอุ้มน้ำ ดูดยึดธาตุอาหาร เป็น
                    เสมือนแหล่งคาร์บอนขนาดใหญ่ในดิน เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ลดความเป็นกรดของดิน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม
                    คุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้น การใส่ถ่านชีวภาพลงดิน พบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และปริมาณไนโตรเจน
                    ทั้งหมดเพิ่มขึ้น และยังช่วยเพิ่มการแลกเปลี่ยนประจุแคตไอออนในดินถึง 40% (Glaser et al., 2002) ทำให้
                    ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และเพิ่มผลผลิต

                    การปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพ

                       Oguntunde และคณะ (2004) ศึกษาผลของถ่านชีวภาพต่อสมบัติทางกายภาพของดินในประเทศกานา โดย
                    เปรียบเทียบดินที่ใส่และไม่ใส่ถ่านชีวภาพ พบว่าดินที่มีการใส่ถ่านชีวภาพมีค่าการนำน้ำของดินในสภาพที่อิ่มตัว
                    เพิ่มขึ้นถึง 88%  สีของดินมีสีคล้ำขึ้น ค่าความหนาแน่นรวมของดินลดลง 9% มีค่าความพรุนรวมเพิ่มขึ้นจาก 45.7%
                    เป็น 50.6%  ขณะที่ Asai และคณะ (2009) ศึกษาการใส่ถ่านชีวภาพในอัตรา 0-16 ตันต่อเฮกตาร์ เพื่อปรับปรุง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19