Page 9 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            3



                    ▪  สถานการณ์ทั่วไปของมันสำปะหลัง
                       มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปต่าง ๆรวมทั้งการผลิต
                    พลังงาน และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ไบโอพลาสติก กรดแล็กติกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมี

                    พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7-8 ล้านไร่ จากนโยบายและข้อจำกัดในพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่ปลูก
                    การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังเพื่อป้อนอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่ จึงขึ้นกับความสามารถของประเทศใน
                    การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธุ์มันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตสูงถึง 5-6 ตันต่อไร่
                    ภายใต้สภาวะการปลูกที่เหมาะสม เช่น การให้น้ำและปุ๋ย แต่การปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรไทย ไม่มีการดูแล
                    ขาดการจัดการดินและน้ำ ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยโดยรวมของประเทศได้เพียง 3.6 ตันต่อไร่ แนวทางการเพิ่มผลผลิตต่อ
                    พื้นที่ในระยะสั้นและกลาง คือการบริหารจัดการดินและน้ำ รวมทั้งการเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับชุดดินจะทำให้
                    ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับศักยภาพพันธุ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
                    เทคโนโลยีแห่งชาติ, 2554) แนวโน้มการเพาะปลูกมันสำปะหลังปี 2562 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต
                    31.08 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน เทียบกับเนื้อที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และ
                    ผลผลิตต่อไร่ 3.52 ตันในปี 2561 พบว่า เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และ ผลผลิตต่อไร่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (สำนักงาน

                    เศรษฐกิจการเกษตร, 2562)

                    สมบัติดินต่อการปลูกมันสำปะหลัง
                       การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เนื่องจากโครงสร้างของดิน
                    และความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน มีผลกระทบต่อการให้น้ำแก่พืช รวมถึงการควบคุมความชื้นในดิน สมบัติทาง
                    กายภาพของดินมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน การระบายน้ำ ความชื้นในดิน ดังนั้นสมบัติทาง
                    กายภาพดินเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของดินประการหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการประเมินความเหมาะสมของดินสำหรับ

                    การเพาะปลูก หรือกำหนดวิธีการแก้ไขปรับปรุงดินต่อไป
                    ▪  ความชื้นในดิน
                       ความชื้นดิน ตามความหมายของพจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์ หมายถึง น้ำที่ถูกดูดซับบนผิวอนุภาคดิน ขังอยู่
                    ชั่วคราว หรืออยู่ในสภาวะไอน้ำในช่องระหว่างอนุภาคดิน น้ำเหล่านี้จะระเหยหมดไปเมื่ออบที่อุณหภูมิ 105-110
                    องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2562)
                       ระดับความชื้นในดิน หรือปริมาณน้ำในดิน มี 4 แบบ คือ ความชื้นโดยมวล ความชื้นโดยปริมาตร ระดับ
                    ความชื้นในดินที่แสดงเป็นความสูงของน้ำในดิน และความชื้นที่เป็นระดับอิ่มตัวของน้ำ
                       การตรวจสอบความชื้นในดิน การหาค่าความชื้นในดินมีหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม การวัดระดับความชื้น
                    ในดินทางตรง คือ วิธีวัดโดยน้ำหนัก (gravimetric method) ส่วนการวัดความชื้นในดินทางอ้อม เป็นการวัดค่าที่

                    อ่านค่าจากเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งจะรวดเร็วกว่าวิธีการวัดทางตรง ซึ่งการวัดความชื้นในดินแบ่งออกได้ดังนี้
                       1)  วิธีวัดโดยน้ำหนัก (Gravimetric method) เป็นวิธีที่นิยมทั่วไปโดยการเก็บตัวอย่างดินเพื่อหาน้ำหนักดิน
                    เปียก จากนั้นนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 105-110 ํC จนกระทั่งน้ำหนักแห้งของดินคงที่ จึงนำไปคำนวณโดยใช้สูตร
                                                                         
                                                               =
                                                                
                                                                         
                                 เมื่อ           หมายถึง ความชื้นของดินโดยมวล

                                               หมายถึง น้ำหนักดินเปียก
                                              
                                               หมายถึง น้ำหนักดินแห้ง
                                              
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14