Page 8 - ผลการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อปริมาณความชื้นและการแทรกซึมน้ำในดินปลูกมันสำปะหลัง Effect of Biochar for Soil Amendment on Moisture Content and Water Infiltration for Planting Cassava
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            2



                                                         การตรวจเอกสาร



                    มันสำปะหลัง
                    ▪  ลักษณะทางพฤษศาสตร์
                       มันสำปะหลังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manihot esculenta (L.) Crantz วงศ์ Euphorbiaceae ชื่อสามัญ
                    Cassava, Tapioca, Manioc, Mandioca หรือ Yuca ส่วนชื่อท้องถิ่นของไทย เช่น ต้าวน้อยหรือต้าวบ้าน
                    (ภาคเหนือ) มันต้นหรือมันไม้ (ภาคใต้) มันสำโรงหรือสำปะหลัง (ภาคกลาง) จัดเป็นไม้พุ่มยืนต้น ลำต้นสูง 1-5 เมตร
                    ใบมันสำปะหลังเป็นแบบใบเดี่ยว การเกิดของใบจะหมุนเวียนรอบลำต้น แผ่นใบเว้าเป็นรอยหยัก ช่อดอกเป็นแบบ
                    panicle เกิดตรงจุดที่มีการแตกกิ่ง มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่แยกดอก (monoecious plant) แต่อยู่ในช่อ

                    เดียวกัน หลังผสมเกสรแล้วรังไข่จะเจริญเติบโตขยายใหญ่กลายเป็นผลแบบ capsule รูปร่างยาวรี เมื่อแก่จะแตก
                    ออกดีดเมล็ดกระจายไป เมล็ดมีสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดละหุ่ง ระบบรากแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ รากจริง หรือรากหา
                    อาหาร (adventitious fibrous roots) เจริญไปแนวราบรอบต้น และรากสะสม (storage root) ซึ่งรากสะสมนี้จะ
                    เจริญกลายเป็นหัวมันสำปะหลัง













                           ที่มา  https://pt.wikipedia.org/wiki/Manihot

                           ภาพที่ 1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง


                       มันสำปะหลังเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำดี เป็นพืชที่สามารถ
                    นำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งในครัวเรือนและในภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน
                    และคุณลักษณะของดินที่ปลูกเป็นสำคัญ ถ้าสภาวะขาดน้ำทำให้มันสำปะหลังมีการพัฒนาทางใบลดลงจนถึงหยุดการ
                    เจริญเติบโต มีการร่วงของใบเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งลดลง (Hillock et al., 2002)
                       แหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัด
                    นครราชสีมา กำแพงเพชร ชัยภูมิ กาญจนบุรี อุบลราชธานี สระแก้ว นครสวรรค์ เลย อุดรธานี และลพบุรี ในปัจจุบัน
                    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดของประเทศไทย (สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ
                    วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2561)
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13