Page 23 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           11

                                 1) ข้าวโพด ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (ในกรณีดินมีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำ)

                   อัตรา 50-75 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16-16-18 อัตรา 30-40 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา
                   20-25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ตอนปลูกและหลังปลูก 20-25 วัน โดยใส่

                   รองก้นหลุมและโรยสองข้างแถวปลูก แล้วพรวนดินกลบ

                                     2) ถั่วเหลือง ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-16 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16-20-0 หรือ
                   20-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ร่วมกับโพแทสเซียมคลอไรด์ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านปุ๋ย

                   ทั้งหมดในแปลงแล้วคราดกลบก่อนปลูก 1 วัน หรือโรยข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบเมื่อถั่วเหลืองอายุ

                   20-25 วัน
                                     3) ถั่วลิสง ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-16 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 12-24-12 หรือ

                   10-20-10 อัตรา 25-35 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ตอนปลูกหรือ หลังปลูก 20-25 วัน โดยใส่รองก้นหลุม หรือโรยสอง
                   ข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบ

                                     4) ปอแก้ว ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ โดย

                   โรยข้างแถวหลังปลูก 1 เดือน แล้วพรวนดินกลบ
                                 5.3.2 ปลูกไม้ผล ปัญหาน้ำท่วมบ่า ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ ปัญหาดินค่อนข้างเป็น

                   ทรายและมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ เตรียมหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 ซม. เป็นอย่างน้อย คลุกเคล้า
                   ดินในหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 25-30 กิโลกรัมต่อหลุม

                                         มะม่วง ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของจำนวนอายุ เช่น มะม่วงอายุ 10 ปี ใส่ปุ๋ยจำนวน 5

                   กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ 1 ใน 3 ส่วนใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ครั้ง
                   ที่สองใส่อีก 1 ใน 3 ส่วน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม และปุ๋ยที่เหลือ 1 ใน 3

                   ส่วนใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 8-24-24 ใส่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม


                          6.การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                            ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในกลุ่มพืชที่ผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและมีบทบาท
                   สำคัญยิ่งต่อภาคปศุสัตว์ โดยผลผลิตที่ได้เกือบทั้งหมดปริมาณร้อยละ 95 ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต

                   อาหารสัตว์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก ซึ่ง

                   การส่งออกในรูปอาหารสัตว์จะมีมูลค่าเพิ่มมากกว่าการส่งออกในรูปข้าวโพดเมล็ด และความต้องการใช้
                   ข้าวโพดในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นมากหลังจากที่มีการขยายการเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันการผลิตข้าวโพดมีไม่

                   เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในและมีปริมาณไม่แน่นอน เนื่องจากการผลิตขึ้นกับดินฟ้าอากาศ ทำให้มี

                   ความเสี่ยงต่อความเสียหายจากความแห้งแล้งมากและพื้นที่ปลูกต้องแข่งขันกับพืชเศรษฐกิจอื่นที่ให้
                   ผลตอบแทนที่ดีกว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีทั้งนำเข้าและส่งออก ทั้งที่ในอดีตไทยเคยเป็นประเทศผู้ส่งออก

                   รายใหญ่รายหนึ่งของโลก และไทยมีศักยภาพด้านการผลิตการตลาดที่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
                            ในเอกสาร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา (2561) กล่าวว่า ปี 2555/56 ถึง

                   2559/60 เนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยมีแนวโน้มลดลงจาก 7.53 ล้านไร่ ใน ปี 2555/56 เหลือ
                   6.44 ล้านไร่ ในปี 2559/60 หรือลดลงร้อยละ 4.23 ต่อปีเนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้ไม่จูงใจเกษตรกร

                   จึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น มันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน ประกอบกับ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28