Page 18 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6
ขณะที่การไถพรวนมากเกินความจำเป็น เป็นการเร่งให้อินทรียวัตถุในดินสลายตัวอย่างรวดเร็ว
ก่อให้เกิดแผ่นแข็งที่ผิวหน้าดิน (soil crust) และชั้นดานไถพรวน (plow pan) (Van Doren and Triplett,
1979; Anusontpornperm et al., 2005; Elder and Lal, 2007) ทำให้อัตราการซาบซึมนํ้าของดินลดลง
เกิดน้ำไหลบ่าหน้าผิวดินเพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารไปกับตะกอนดินโดยเฉพาะฟอสฟอรัสทำ
ให้ดินเสื่อมโทรมลงทั้งทางด้านกายภาพและความอุดมสมบรูณ์ ผลผลิตพืชในครั้งต่อๆ มาจึงลดลง (Pagliai et
al., 2004; Haene et al., 2008) ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ทำการเกษตรแบบไม่มีการไถพรวน (no tillage)
หรือการไถพรวนเพียงเล็กน้อย (minimum tillage) หรือการทิ้งเศษซากพืชบนผิวดินซึ่งจะช่วยลดระยะเวลา
ในการเตรียมดินและประหยัดค่าใช้จ่ายโดยการที่มีเศษซากพืชคลุมดินจะช่วยลดการระเหยของนํ้าที่ผิวดิน
และช่วยลดแรงปะทะของนํ้าฝน (รังสิต, 2538; Unger, 1994) เพิ่มความคงทนของเม็ดดินและความสามารถ
ในการอุ้มน้ำส่งผลให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น (Dam et al., 2004) และลดการเกิดนํ้าไหลบ่าหน้าผิว
ดิน นอกจากนี้จะยังเพิ่มจำนวนช่องว่างขนาดใหญ่และเพิ่มความต่อเนื่องของช่องว่างจึงทำให้นํ้าซึมผ่านหน้า
ตัดดินเร็วขึ้น (ธวัชชัย และคณะ, 2537; Thomas et al., 1973; Tyler and Thomas, 1977) แต่ส่งเสริมให้
ไนโตรเจนและโพแทสเซียมเกิดการสูญหายโดยกระบวนการชะละลายได้ง่ายโดยเฉพาะในดินที่มีเนื้อหยาบ
(Angle et al., 1993) ในขณะที่ความเป็นประโยชน์ของไนโตรเจนอาจถูกจำกัดภายใต้ระบบที่มีเศษซากพืช
เหลือที่ผิวดินเนื่องจากเศษซากพืชที่ปกคลุมผิวดินหากมีค่าอัตราส่วนคาร์บอน-ไนโตรเจนสูง จะทำให้
ไนโตรเจนไม่เพียงพอต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน จึงทำให้จุลินทรีย์เหล่านี้ใช้ไนโตรเจนที่มีอยู่ในดิน จึงส่งผล
ให้พืชแสดงอาการขาดไนโตรเจนในช่วงแรกของการเจริญเติบโต นอกจากนี้เศษซากพืชที่ปกคลุมผิวดินจะช่วย
ลดอุณหภูมิที่ผิวดินลง ส่งผลให้อัตราการงอกของเมล็ดตํ่า(Swan et al., 1994) อย่างไรก็ตามการปลูก
ข้าวโพดในดินเนื้อหยาบที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมักประสบปัญหาเรื่องการขาดนํ้าได้
ง่ายของพืช และการสูญเสียธาตุปุ๋ยออกไปจากเขตรากพืชอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการตอบสนองของผลผลิตข้าวโพดภายใต้การไถพรวนดินแบบปกติและแบบอนุรักษ์ 3 วิธีการ และ
ผลของวิธีการไถพรวนที่มีต่อสมบัติดิน ซึ่งน่าจะเกิดประโยชน์ต่อการเลือกใช้วิธีการไถพรวนที่เหมาะสมสำหรับ
การปลูกข้าวโพดในดินเนื้อหยาบ โดยพิจารณาจากผลผลิตที่ได้รับและสมบัติดินที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
4.การอนุรักษ์ดินและน้ำ
การอนุรักษ์ดินและน้ำคือ การใช้น้ำหรือการจัดการทรัพยากรดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดย
ป้องกันการชะล้างการพังทลายของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สามารถทำการเกษตรได้ตลอดไป
4.1 การอนุรักษ์ดิน เพื่อรักษาความสามารถในการผลิตของดินให้ยืนนานและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย
เนื้อที่ดิน
หลักการอนุรักษ์ดิน
- ลดอัตราการกัดกร่อนของดิน
- เพิ่มหรือรักษาระดับปริมาณของธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดินให้อยู่ในระดับที่
เหมาะสมปรับปรุงโครงสร้างของดินให้อยู่สภาพที่เหมาะสม
- ทำให้สามารถใช้น้ำอย่างประหยัด