Page 19 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            7

                          4.2 การอนุรักษ์น้ำ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเหมือนกับทรัพยากรดินดังนั้นกิจกรรมการอนุรักษ์น้ำ

                   จึงต้องมีการดำเนินการควบคู่กันไป
                               หลักการอนุรักษ์น้ำ

                                 - ลดการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยการระเหยของน้ำบนผิวดิน

                                 - เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นนานที่สุด
                                 - ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

                              จากรายงานของกรมพัฒนาที่ดิน (2538) ได้ระบุว่าในปี พ.ศ. 2524 มีพื้นที่ดินที่เกิดปัญหาการ

                   ชะล้างพังทลายในระดับความรุนแรงมาก มีพื้นที่ 107.69 ล้านไร่ พื้นที่ดังกล่าวกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ
                   ของประเทศ ที่พบมากที่สุด คือ บริเวณที่มีความลาดชันทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาค

                   ตะวันออก ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ที่ถูกบุกรุกถากถางเพื่อขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูก ในปี พ.ศ.
                   2538 มีพื้นที่ดินที่เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายเพิ่มขึ้นเป็น 134.54 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่จำเป็นต้องมีการจัดการ

                   โดยวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ

                          4.3 วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ คือ วิธีการที่นำมาใช้ในพื้นที่หนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งหรือ
                   ชะลออัตราการชะล้างพังทลายของดิน โดยอาศัยหลักการสำคัญ คือ เมื่อฝนตกลงมาในที่ใดที่หนึ่งจะพยายาม

                   ให้มีการเก็บกักน้ำไว้ ณ ที่นั้นเพื่อให้น้ำไหลซึมลงไปในดินเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ
                                4.3.1 วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้ระบบพืช

                                     เป็นการใช้พืชพวกตระกูลถั่วบำรุงดิน หญ้าเลี้ยงสัตว์หรือหญ้าธรรมชาติปลูกเป็นแถบ

                   ขวางความลาดเทของพื้นที่เพื่อดักตะกอนดินและน้ำและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน มีหลายวิธีการได้แก่
                                     1) การปลูกพืชคลุมดิน (Cover cropping) เป็นการปลูกหญ้าหรือพืชตระกูลถั่วคลุมดิน

                   ซึ่งเมื่อปลูกแลวจะปกคลุมผิวหน้าดินช่วยควบคุมการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อปองกัน

                   เม็ดฝนมิให้กระทบผิวดินโดยตรง และลดการชะล้างผิวหน้าดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินและปรับปรุงสมบัติ
                   ทางกายภาพของดินควบคุมวัชพืช และช่วยปรับสภาพแวดล้อมบริเวณปลูกพืชให้เหมาะสม โดยเฉพาะในการ

                   ปลูกคลุมดินในสวนไม้ผล และเหมาะสำหรับปลูกบนพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ และเป็นดิน

                   เลวใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจไม่คุ้มค่าก็ควรปลูกหญ้าและพืชตระกูลถั่วคลุมดิน
                                     2) การคลุมดิน (Mulching) เป็นการใช้วัสดุต่าง ๆ คลุมดินเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น

                   เศษซากพืช ฟางข้าว หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น พลาสติก กระดาษ เพื่อลดปริมาณน้ำไหล่บ่าและลดการสูญเสียดิน
                   ควบคุมวัชพืชและลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชควบคุมอุณหภูมิดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และลดการระเหย

                   น้ำจากผิวดินทำให้ดินสามารถเก็บความชื้นไวในดินได้ยาวนานขึ้น ใช้ได้ทุกกรณีแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการ

                   นำไปใช้ เช่น ใช้เป็นวัสดุคลุมดินกับพืชผักไมผล และ พืชไร่ เป็นต้น
                                     3) การปลูกพืชปุ๋ยสด (Green manure cropping) เป็นการปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อไถ

                   กลบคลุกเคล้ากับดินเพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทางเคมีและชีวภาพของดินเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดิน
                   โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุไนโตรเจน เมื่อปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชปุ๋ยสด และลดการชะล้างพังทลายของดินใช้

                   เพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน เช่นใช้ร่วมกับการปลูกพืชหมุนเวียน และการปลูกพืชแซม

                                     4) การปลูกพืชสลับเป็นแถบ (Strip cropping) เป็นแถบการปลูกพืชที่มีระยะปลูกถี่และ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24