Page 24 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           12

                   ภาคเอกชน มีมาตรการไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิและพื้นที่ป่า สำหรับผลผลิต

                   ต่อไร่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะในช่วงปี 2558/59 โดยใน ปี 2555/56 ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศต่อไร่ลดลง
                   จาก 657 กิโลกรัม ในปี 2555/56 เหลือ 612 กิโลกรัมในปี 2558/59 ส่งผลให้ผลผลิตรวมลดลงจาก 4.95

                   ล้านตัน ในปี 2555/56 เหลือ 4.34 ล้านตัน ในปี 2559/60 หรือลดลงร้อยละ 4.44 ตามการลดลงของเนื้อที่

                   เพาะปลูก ปี 2559/60 เนื้อที่เพาะปลูกมี 6.44 ล้านไร่ลดลงจาก 6.59 ล้านไร่ ในปี 2558/59 ร้อยละ 2.28
                   เนื่องจากปี 2557/58 ฝนทิ้งช่วงและกระทบแล้งเกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกอ้อยโรงงานและมัน

                   สำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชที่ทนแล้งและดูแลรักษาง่าย สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 612 กิโลกรัม ในปี

                   2558/59 เป็น 674 กิโลกรัม ในปี 2559/60 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.13 เนื่องจากไม่กระทบแล้งในช่วงออก
                   ดอก ส่งผลให้ผลผลิตรวม เพิ่มขึ้นจาก 4.03 ล้านตัน ในปี 2558/59 เป็น 4.34 ล้านตัน ในปี 2559/60

                            6.1 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 (นวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต,2564) เดิมชื่อรหัส
                   เอ็น เอส เอ็กซ์ 042029 เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยว เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์แท้พันธุ์

                   ตากฟ้า 1 (พันธุ์แม่) และสายพันธุ์แท้ตากฟ้า 3 (พันธุ์พ่อ) ซึ่งสร้างและพัฒนาโดยศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

                   และดำเนินการประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ฯ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืช
                   และปัจจัยการผลิตฯ ตลอดจนในไร่เกษตรกรจังหวัดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ. 2551

                                 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,106 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์
                   นครสวรรค์ 72 ร้อยละ 20 และนครสวรรค์ 2 ร้อยละ 4 ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า มีความ

                   ทนทานแล้งในระยะออกดอกให้ผลผลิตเฉลี่ย 836 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานโรคราน้ำค้างและโรคราสนิม

                   เก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย
                            6.2 ลักษณะประจำพันธุ์

                   ตารางที่ 6 ลักษณะทางเกษตรของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 เปรียบเทียบกับพันธุ์นครสวรรค์ 2

                          ลักษณะประจำพันธุ์            นครสวรรค์3                     นครสวรรค์2

                    ผลผลิตเมล็ด (กก./ไร่)                 1,106                         1,066
                    ผลผลิต (กก./ไร่)                       836                           765

                    อายุออกไหม (วัน)                       55                             55
                    อายุออกดอกตัวผู้ (วัน)                 54                             54

                    อายุเก็บเกี่ยว (วัน)                 110-115                       110-115

                    ความสูงของฝัก (ซม.)                    110                           113
                    ความสูงต้น (ซม.)                       196                           207

                    จำนวนฝักต่อต้น (ฝัก)                    1                             1

                    จำนวนแถวเมล็ดต่อฝัก (แถว)              14                             14
                    จำนวนเมล็ดต่อแถว (เมล็ด)               36                             39

                    การกะเทาะ (ร้อยละ)                     83                             82

                    การเกิดราน้ำค้าง                     ต้านทาน                       ต้านทาน
                    การเกิดราสนิม                    ต้านทานปานกลาง                    ต้านทาน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29