Page 26 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           14

                               4) การกำจัดวัชพืช : ควรกำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง ครั้งแรกใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอาทราซิน 80 %

                   ชนิดผงอัตรา 300-500 กรัมต่อไร่ หรืออะลาคลอร์ 48 % ชนิดน้ำ อัตรา 500-600 ซีซี.ต่อไร่ ฉีดพ่นหลังปลูก
                   ขณะดินมีความชื้นและเมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 1 เดือน ทำการกำจัดวัชพืชอีกครั้ง โดยใช้แรงงานคนหรือ

                   เครื่องจักรกล พร้อมกับใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง

                                  ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 เป็นพันธุ์ข้าวโพด
                   ลูกผสม ไม่แนะนำให้เกษตรกรเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ปลูกในรุ่นต่อไป

                          6.5 โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

                               1) โรคราน้ำค้าง หรือใบลาย สาเหตุเกิดจากเชื้อรา
                                  ลักษณะอาการ ระบาดรุนแรงในระยะต้นอ่อนถึงอายุประมาณ 1 เดือน ทำให้ยอดมีข้อถี่ ต้น

                   แคระแกร็น ใบเป็นทางสีขาว เขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อนไปตามความยาวของใบ พบผงสปอร์สีขาวเป็นจำนวน
                   มากบริเวณใต้ใบในเวลาเช้ามืดที่มีความชื้นสูง ถ้าระบาดรุนแรงต้นจะแห้งตาย แต่ถ้าต้นอยู่รอดจะไม่ออกฝัก

                   หรือติดฝักแต่ไม่มีเมล็ด เชื้อราติดไปกับเมล็ด สปอร์ปลิวไปตามลมและน้ำ ระบาดรุนแรงในฤดูฝน ที่อุณหภูมิ

                   ต่ำและความชื้นสูง
                                   การป้องกันกำจัด

                                 - ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด
                                 - ในแหล่งที่มีการระบาดของโรครุนแรงเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานีนครสวรรค์ พิจิตร

                   พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และนครปฐม หรือปลูกพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรค

                                 - ใช้เมล็ดพันธุ์ที่แห้งสนิท ถ้าความชื้นเมล็ดสูงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะมีเชื้อรา ติดมากับเมล็ด
                                 - ถอนต้นข้าวโพดที่แสดงอาการเป็นโรค เผานอกแปลงปลูก

                                 - ทำลายวัชพืชอาศัยของโรคก่อนปลูก เช่น หญ้าพง และหญ้าแขม เป็นต้น

                               2) โรคราสนิม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา
                                   ลักษณะอาการ เกิดได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพด ระยะแรก พบเป็นแผลจุดนูน สีน้ำตาล

                   แดง ขนาด 0.2-1.3 มิลลิเมตร ต่อมาแผลจะแตกเห็นเป็นผงสีสนิม ถ้าระบาดรุนแรง จะทำให้ใบแห้งตาย

                   ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงปลายฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว ที่มีความชื้นใน อากาศสูง และอุณหภูมิค่อนข้าง
                   เย็น

                                   การป้องกันกำจัด
                          - ในแหล่งที่มีโรคระบาดให้ปลูกพันธุ์ต้านทาน ได้แก่ นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 3851 หรือสุวรรณ 5

                          - หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ซึ่งอ่อนแอต่อโรค และ เป็นแหล่งสะสมของ

                   เชื้อโรค
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31