Page 22 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
7) ทางระบายน้ำ (Waterway) สร้างขึ้นเพื่อรับน้ำจากคันดินกั้นน้ำ คูรับน้ำรอบเขา
หรือบริเวณระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ เพื่อควบคุมการไหลของน้ำไปยังที่กำหนดไว้ โดยไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ
การชะล้างพังทลายขึ้น ทางระบายน้ำนี้อาจสร้างขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากร่องน้ำธรรมชาติก็ได้
8) บ่อน้ำในไร่นา (Farm pond) ช่วยในการเก็บกักน้ำที่ไหลบ่ามาตามหน้าดิน
รวมทั้งตะกอนที่ถูกชะล้างไว้เป็นช่วง ๆ ไม่ให้เกิดผลเสียหายรุนแรงแก่พื้นที่เพาะปลูก ตลอดจนแหล่งน้ำอื่น ๆ
นอกจากนั้นยังเป็นการเก็บกักน้ำไว้ในช่วงที่จำเป็นอีกด้วย
5.กลุ่มชุดดินที่ 60
5.1 ลักษณะโดยทั่วไปเป็นดินที่มีการผสมของดินหลายชนิด ซึ่งเกิดจากตะกอนลำน้ำพัดพามาทับ
ถม (AC-wd : Alluvial Complex, well drained) พบบริเวณสันดินริมน้ำ บริเวณพื้นที่เนินตะกอน ซึ่งส่วน
ใหญ่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ จนถึงลูกคลื่นลอนลาดมีความลาดชันประมาณ 2 - 12 % โดยทั่ว ๆ ไป
ดินกลุ่มนี้มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นดินลึก เนื้อดินเป็นพวกดินร่วน บางแห่งมีชั้นดินที่มี
เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายหรือมีชั้นกรวด ซึ่งแสดงถึงการตกตะกอนต่างยุคของดินอ้น เป็นผลมาจากการเกิด
น้ำท่วมใหญ่ในอดีต ดินกลุ่มนี้โดยทั่วๆ ไปมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึง
เป็นกลาง ได้แก่ ชุดดินดินตะกอนลำน้ำที่มีการระบายน้ำดี (AL-W) ปัจจุบันดินนี้มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ค่อนข้างกว้างขวาง นิยมปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้น (กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน,2564)
ตารางที่ 5 สมบัติดินของกลุ่มชุดดินที่ 60
อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ความเป็นกรดเป็นด่าง
ชั้นดิน
(เปอร์เซ็นต์) (ส่วนต่อล้านส่วน) (ส่วนต่อล้านส่วน) (pH)
ดินบน 2 5.6 59 6.0-7.0
ดินล่าง 1.4 4.2 60.1 6.0-7.0
5.2 ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำในฤดู
แล้งโดยทั่วไปกลุ่มดินที่ 60 มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น เนื่องจากเป็น
ดินลึก การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี ความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง ในช่วงการเพาะปลูกดินมักไม่
ขาดความชื้น หรือถ้าขาดก็สามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ได้ เพราะส่วนใหญ่กลุ่มดินนี้พบบริเวณ
สันริมฝั่งแม่น้ำ และบริเวณหุบเขา มักมีน้ำเพียงพอ
5.3 การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 60
5.3.1 ปลูกพืชไร่ ปัญหาน้ำท่วมบ่า ทำพนังหรือเขื่อนกั้นน้ำพร้อมทั้งจัดระบบการระบายน้ำ
ออกจากพื้นที่เพาะปลูกหรือ ปรับระยะเวลาการปลูกพืชเพื่อหลีกเลี่ยงช่วงน้ำท่วมบ่า ปัญหาดินค่อนข้างเป็น
ทรายและมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเทศบาล อัตรา 1-2
ตัน/ไร่ หรือปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบลงดิน เมื่อปุ๋ยพืชสดอายุ 40-50 วัน หรือออกดอกประมาณ 50 %