Page 25 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           13

                   ตารางที่ 7 ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 เปรียบเทียบกับพันธุ์นครสวรรค์ 2

                        ลักษณะประจำพันธุ์            นครสวรรค์3                       นครสวรรค์2

                    สีรากค้ำ                             แดง                             แดง

                    สีของลำต้น                          เขียว                            เขียว
                    จำนวนใบทั้งหมด                       23                               22

                    สีกาบดอกย่อย                         ม่วง                            แดง
                    สีอับเรณู (อับสด)                    ม่วง                            แดง

                    สีฐานดอกย่อย                        เขียว                            เขียว

                    ลักษณะช่อดอกตัวผู้               โค้งปานกลาง                      โค้งปานกลาง
                    สีไหม                                แดง                             แดง

                    ชนิดของเมล็ด                       หัวแข็ง                          หัวแข็ง
                    สีของเมล็ด                         ส้มเหลือง                         ส้ม

                    สีซัง                                ขาว                             ขาว


                          6.3 คำแนะนำการปลูก

                               1) สภาพพื้นที่ ข้าวโพดจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดอน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี
                   สภาพดินไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป

                               2) ฤดูปลูก : ปลูกได้ทั้งต้นฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และปลายฤดูฝนระหว่าง

                   เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ปลูกในช่วงระยะเวลาใดเกษตรกรควรคำนึงถึงช่วงที่ข้าวโพดออกดอก ประมาณ 50
                   วันหลังปลูก ต้องมีน้ำเพียงพอและช่วงเก็บเกี่ยวไม่ควรตรงกับช่วงฝนตกชุก

                               3) การเตรียมดิน : ควรมีการไถ 2 ครั้ง ระยะห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ ครั้งแรกไถดะหรือไถ
                   บุกเบิก (ผาล 3) ครั้งที่ 2 เป็นการไถพรวน (ผาล 7)

                               4) ระยะปลูกที่เหมาะสม : ระยะระหว่างแถว 75 ซม. และระหว่างหลุม 20-25 ซม. หลุมละ 1

                   ต้น โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กิโลกรัมต่อไร่
                          6.4 การใส่ปุ๋ย

                               การใส่ปุ๋ย : ควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือใส่ปุ๋ย 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน

                               1) ดินเหนียวสีแดง ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก และเมื่อข้าวโพดมี
                   อายุประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัมต่อ

                   ไร่

                               2) ดินเหนียวสีดำ ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 50
                   กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 1 เดือน

                               3) ดินทราย ดินร่วนทราย ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก และเมื่อ
                   ข้าวโพดมีอายุ 20-25 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัม

                   ต่อไร่ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินทุก ๆ 3-4 ปี โดยใส่อัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30